วิวัฒนาการของโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์

                    อเล็กซานเดอร์เกร แฮม เบล เป็นผู้วางรากฐานระบบโทรศัพท์ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2419 หรือประมาณร้อยปีเศษแล้ว โทรศัพท์มีพัฒนาการค่อนข้างช้า เริ่มจากการสวิตช์ด้วยคน มาเป็นการใช้ระบบสวิตช์แบบอัตโนมัติด้วยกลไกทางแม่เหล็กไฟฟ้าจำพวกรีเลย์ จนในที่สุดเป็นระบบครอสบาร์

                    ครั้นเข้าสู่ยุคดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ระบบโทรศัพท์ที่ใช้ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการสวิตช์มาเป็นแบบดิจิตอล มีการแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นดิจิตอล โดยแถบเสียงขนาด 4 กิโลเฮิร์ทซ์ต่อวินาที ใช้อัตราสุ่ม 8,000 ครั้งต่อวินาที ได้สัญญาณดิจิตอลขนาด 64 กิโลบิตต่อวินาที แถบเสียงแบบดิจิตอลจึงเป็นข้อมูลที่มีการรับส่งกันมากที่สุดในโลกอยู่ขณะนี้

                      จนประมาณปี 1983 ระบบเซลลูลาร์เริ่มพัฒนาขึ้นใช้งาน ระบบแรกที่พัฒนามาใช้งานเรียกว่า ระบบ AMPS (Analog Advance Mobile Phone Service) ระบบดังกล่าวส่งสัญญาณไร้สายแบบอะนาล็อก โดยใช้คลื่นความถี่ที่ 824-894 เมกะเฮิร์ทซ์ โดยใช้หลักการแบ่งช่องทางความถี่หรือที่เรียกว่า FDMA – Frequency Division Multiple Accessต่อมาประมาณปี 1990 กลุ่มผู้พัฒนาระบบเซลลูลาร์ได้พัฒนามาตรฐานใหม่โดยให้ชื่อว่า ระบบ GSM-Global System for Mobile Communication โดยเน้นระบบเชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วโลก ระบบดังกล่าวนี้ใช้วิธีการเข้าถึงช่องสัญญาณด้วยระบบ TDMA-Time Division Multiple Access โดยใช้ความถี่ในการติดต่อกับสถานีเบสที่ 890-960 เมกะเฮิร์ทซ์

                        สำหรับในสหรัฐอเมริกาเองก็มีการพัฒนาระบบของตนขึ้นมาใช้ในปี 1991 โดยให้ชื่อว่า IS – 54 – Interim Standard – 54 ระบบดังกล่าวใช้วิธีการเข้าสู่ช่องสัญญาณด้วยระบบ TDMA เช่นกัน แต่ใช้ช่วงความถี่ 824-894 เมกะเฮิร์ทซ์ และในปี 1993 ก็ได้พัฒนาต่อเป็นระบบ IS-95 โดยใช้ระบบ CDMA ที่มีช่องความถี่มากขึ้นคือ 824-894 และ 1,850-1,980 เมกะเฮิร์ทซ์ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ร่วมกับระบบ AMPS เดิมได้

 เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สารยุค 1G    เป็นยุคที่ใช้ระบบอะนาล็อก คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้นซึ่งนั่นก็หมายความว่าสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้อย่างเดียว   คือ โทรออก-รับสาย เท่านั้น ไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน Data ใดๆ ทั้งสิ้น .. แม้แต่การรับ-ส่ง SMS ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1G แต่จริงๆแล้ว …  ในยุคนั้น  ผู้บริโภคก็ยังไม่มีความต้องการในการใช้งานอื่นๆ นอกจากเสียง (Voice) อยู่แล้วโดยปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัดมาก และจะพบว่าผู้ใช้มักจะเป็นนักธุรกิจที่ มีรายได้สูงเสียส่วนใหญ่

สรุป

•เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์

•วิธีการมอดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็ก ๆ ด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

•ติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่

•โทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก

•ในภายหลังจึงเปลี่ยนมา

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาร ยุค 2G ยุค 2G จะ เปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบอะนาล็อกมาเป็นการเข้ารหัส Digital ส่งทางคลื่น Microwave ซึ่งในยุคนี้เอง  เป็นยุคที่เริ่มทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้าน Data ได้ นอกเหนือจากการใช้งาน Voice เพียงอย่างเดียวในยุค 2G นี้ … เราสามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่เรียกว่า cell site และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) (ไม่ใช่ชื่อผู้ให้บริการนะครับ)  ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming

สรุป

•เป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล

•การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีเบส ใช้วิธีการสองแบบคือ

TDMA -Time Division Multiple Access คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก

 CDMA – Code Division Multiple Access เป็นการแบ่งการเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรส

เหมือน IP

•ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว

เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สาย ยุค 2.5G ยุค 2.5G หลังจากนั้น  ก็เป็นยุคก้ำกึ่งระหว่าง 2G และ 3G … ซึ่ง2.5G นี้ เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) นั่นเอง ซึ่งตามหลักการแล้ว … เทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps เลยทีเดียว แต่เอาเข้าจริงๆ ความเร็วของ GPRS จะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น

สรุป

•การสื่อสารไร้สายยุค 2.5G ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยีในระดับ 2G แต่มีประสิทธิ-ภาพด้อยกว่ามาตรฐานการสื่อสารไร้สายยุค 3G

•โดยเทคโนโลยีในยุค 2.5G สามารถให้บริการรับส่งข้อมูลแบบแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ 20 – 40 Kbps

•สำหรับเทคโนโลยี 2.5G  ที่มีใช้อยู่ตอนนี้ก็คือ -GPRS : (General Packet Radio Service) นับเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระดับ 2.5G

เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สาย ยุค 2.75G  เป็นช่วงที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution)     EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS และถูกเรียกกันว่าเทคโนโลยียุค 2.75 G (อย่างไม่เป็นทางการ) เป็นทางเลือกก่อนก้าวเข้าสู่ยุค 3G อย่างต่อเนื่อง และคุ้มค่าความเร็วการส่งผ่านข้อมูลโดยประมาณของเทคโนโลยียุค 2.75G ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดประมาณ 384 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps) และมีความเร็วในการใช้งานจริงประมาณ 80-100 กิโลบิตต่อวินาที (ความเร็วในการใช้งานจริงจะลดลงไปค่อนข้างมาก เนื่องจากระหว่างใช้งาน ระบบต้องแบ่งช่องสัญญาณบางส่วน ไปใช้งานทางด้านเสียงด้วย)

EDGE

เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution)

                        เทคโนโลยี EDGE   เป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ TDMA (Time Division Multiple Access) เป็นระบบการแบ่งเวลากันใช้ในช่องสัญญาณเดียวกัน  โดยเปรียบช่องสัญญาณให้เป็นเสมือนขนมชั้นที่ถูกวางอยู่ในแนวตั้ง เมื่อใดที่มีการใช้โทรศัพท์ เครื่องโทรศัพท์แต่ละเครื่องก็จะถูกจัดสรรเวลาให้ใช้ภายในช่องความถี่เดี่ยวกัน  เทคโนโลยี EDGE เป็นการปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของเทคโนโลยี GPRS จึงกำหนดคำนิยามให้ EDGE ว่า ‘ การติดเทอร์โบให้กับ GPRS’

ข้อดีของระบบ TDMA

                        เวลาของผู้ใช้ทุกคนจะเท่ากันหมด ถือว่าทุกคนมีช่องเวลาที่ชัดเจนตายตัว จึงทำให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูล โดยเฉพาะเรื่องของเสียง อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องใช้ส่งข้อมูลปริมาณมากๆ ปัญหาด้านความเร็วจึงได้เกิดขึ้น (เนื่องจาก TDMA ถูกจำกัดความเร็วต่อช่องสัญญาณที่ 9.6 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้น)   ผู้ประกอบการจึงหาวิธีแก้ปัญหาโดยการนำเอาช่องสัญญาณหลายๆ ช่องมารวมกัน เพื่อให้ได้ความเร็วที่สูงขึ้น ซึ่งนั่นคือที่มาของเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) แต่ความเร็วของ GPRS ก็ยังจัดว่าเป็นความเร็วที่รองรับในส่วนของวิดีโอคลิปได้ไม่สมบูรณ์อยู่ดี จึงได้มีการนำเอาระบบ EDGE เข้ามา ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS

                       ลักษณะการทำงานของเทคโนโลยี EDGE เป็นการบีบอัดข้อมูลในอัตราส่วน 3:1  เทคโนโลยี EDGE จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่า GPRS ประมาณ 3 เท่า หรือมีความเร็วสูงสุดประมาณ 384 กิโลบิตต่อวินาที อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น GPRS หรือ EDGE ก็ตาม ความเร็วการส่งข้อมูลที่ได้บนการใช้งานจริงจะต่ำกว่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดของระบบ TDMA ที่ต้องมีการแบ่งช่องสื่อสารสำหรับการใช้งานด้านเสียงไว้ด้วย (Technical Limited)

ข้อดีของเทคโนโลยี EDGE

                       ผู้ให้บริการระบบ TDMA (GSM) นั้น สามารถอัพเกรดระบบให้รองรับเทคโนโลยี EDGE ได้อย่างไม่ยุ่งยาก โดยจะประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก

                                                  รูปการเปรียบเทียบอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูล

                           จะเห็นว่า EDGE มีความสามารถที่เทียบเท่ากับ ระบบ W-CDMA ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐาน UMTS แต่ใช้เงินลงทุนที่น้อยกว่ามาก ด้วยอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่สูงขึ้น ผู้ให้บริการเครือข่ายจึงสามารถให้บริการรายงานข่าว, การรับส่งไฟล์รูปภาพและเสียงเพลง, พาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์ที่มีสีสันมากขึ้น ไปจนถึงการเปิดให้บริการสนทนาโทรศัพท์แบบเห็นหน้ากัน (Video Telephony)

       

                                รูปการพัฒนาการบริการด้านสื่อสารข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน

ข้อจำกัดของเครือข่าย 2.5G และ 2.75G

                               เกิดขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมีการทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ต้องจัดสรรวงจรให้กับผู้ใช้งานตายตัว ไม่สามารถนำทรัพยากรเครือข่ายมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แม้เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยี GPRS และ EDGE ซึ่งถือเป็นการเสริมเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet Switching) ที่มีความยืดหยุ่นในการสื่อสารข้อมูลแบบ Non-Voice แต่เทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภทนี้ก็ถือว่าเป็นการ ต่อยอด บนเครือข่ายแบบเดิมที่มีการทำงานแบบ TDMA ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องพะวงกับการจัดสรรทรัพยากรช่องสื่อสาร ทำให้ไม่สามารถเปิดให้บริการแบบ Non-Voice ได้อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากจะทำให้เกิดผลรบกวนต่อจำนวนวงจรสื่อสารแบบ Voice มากจนเกินไป ไม่มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G รายใดในโลก สามารถเปิดให้บริการเทคโนโลยี GPRS ด้วยอัตราเร็วสูงสุด   171 กิโลบิตต่อวินาที หรือ EDGE ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาทีได้ เพราะจะทำให้สถานีฐาน (Base Station) ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณกับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีวงจรสื่อสารเหลือสำหรับให้บริการแบบ Voice อีกต่อไป

                             ในขณะเดียวกันก็มีบริการสื่อสารอัตราเร็วสูงแบบบรอดแบนด์ผ่านคู่สาย เช่น DSL (Digital Subscriber Line) เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ใช้บริการ ผลที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้ใช้บริการก็คือความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G ทำให้หมดความน่าสนใจที่จะใช้บริการต่อไป

เทคโนโลยี 3G

เทคโนโลยี 3G คืออะไร…?

                 3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3ยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยี ในปัจจุบันเข้าด้วยกันใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ลักษณะการทำงานของ 3G… ช่องสัญญาณความถี่,ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น สามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ, รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ

เทคโนโลยี 3G น่าสนใจอย่างไร

•สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น

•สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ

• สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น

•ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา ,วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป

•ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว

•ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว

•คุณสมบัติหลักของ 3G คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล

• การเสียค่าบริการ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย

                                                                                                     อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G

•mobile phone

•PDA (Personal Digital Assistant )

•Laptop

•Palmtop

•PC (Personal Computer)

เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สาย ยุค 3G : CDMA2000 1X

CDMA2000 1X 

                        เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอที่มีอยู่ในเมืองไทยและผู้บริโภคสามารถใช้บริการได้แล้วในขณะนี้คือ CDMA2000 1X ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่สามารถให้บริการทั้งทางเสียงและข้อมูล ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดบริการหนึ่งในขณะน

 เทคโนโลยี CDMA2000 1X

                       รองรับให้บริการทั้งทางเสียงและข้อมูล โดยอาศัยเพียงแถบความถี่ ขนาด 1.25 เมกกะเฮิร์ตซ นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพรองรับผู้ใช้บริการได้มากกว่าระบบ cdmaOne ถึง 2 เท่าและมากกว่าเทคโนโลยีจีเอสเอ็มหลายเท่าตัว ด้วยความสามารถ ดังกล่าว จึงพร้อมจะให้บริการทางเสียง ขณะเดียวกัน CDMA20001X ยังเป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย บริการมัลติมีเดีย และบริการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับการใช้งานในหน่วยงานหรือองค์กรธุรกิจ รวมทั้งประชาชนทั่วไป เนื่องจากสามารถส่งความเร็วที่สูงกว่าระบบอื่น

                          เทคโนโลยี CDMA2000 1X สามารถให้บริการข้อมูลไร้สายด้วยความเร็วเฉลี่ย 50 – 90 กิโลบิตต์ต่อวินาที โดยมีอัตราสูงสุดถึง 153 กิโลบิตต์ต่อวินาที ปัจจุบันมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA2000 1X มากกว่า 524 รุ่นจำหน่ายทั่วโลก โดยมีทั้งโทรศัพท์หลากหลายรูปแบบ อุปกรณ์รับส่งข้อมูลไร้สาย และโมเด็มไร้สาย ผู้ผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในระดับโลก ได้แก่ พานาโซนิค ซัมซุง ซันโย อีริคสัน โมโตโรล่า แอลจี เคียวเซร่า และโนเกีย เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีบริษัทผู้เชี่ยวชาญที่ผลิต อุปกรณ์สำหรับรับส่งข้อมูลไร้สายโดยเฉพาะ เช่น Sanyo, Samsung, LG, GTRAN และเซียร์ร่า ไวล์เลส เป็นต้น

เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สาย ยุค 3G : CDMA2000 1xEV-DO

CDMA2000 1xEV-DO

 ย่อมาจาก First Evolution, Data Optimized

                      โดยระบบ 1x EV-DO เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่มีระบบการส่งสัญญาณข้อมูลแบบแพคเก็ต ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง ต้นทุนต่ำเหมาะสำหรับผู้บริโภคทั่วไปรวมถึงผู้ใช้ที่ต้องการรับ – ส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ได้ครอบคลุมพื้นที่กว้างไกล

                   1xEV-DO เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี CDMA 2000 และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล CDMA 2000 ที่ได้รับการยอมรับจากสมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( ITU ) ให้เป็นเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน การสื่อสารไร้สาย ยุค 3 G

                  CDMA 20001xEV-DO ให้บริการรับ-ส่งข้อมูลไร้สาย ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง พร้อมด้วยรูปแบบการใช้งานที่ง่ายโดยมีลักษณะการทำงาน ที่ใกล้เคียงกับการใช้งานบนอินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย อุปกรณ์การสื่อสารที่รองรับระบบ ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ การสื่อสารไร้สายประเภทอื่น ๆ อาทิ โทรศัพท์มือถือ เครื่องพีดีเอที่รองรับการทำงานทั้งข้อมูลและเสียง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค รวมถึงโมเด็มสำหรับรับ -ส่งข้อมูลได้แก่ การ์ด PCMCIA และโมเด็มแบบ stand-alone

การใช้งานเทคโนโลยี 1xEV-DO เชิงพาณิชย์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2545 จวบจนกระทั่งในปัจจุบัน มีผู้ใช้ บริการการสื่อสารเคลื่อนที่ระบบ 1xEV-DO มากกว่า9 ล้านคน และคาดว่าจะผู้เปิดให้บริการระบบนี้ อีกหลายเครือข่ายภายในปีนี้ และปีหน้า

สำหรับผู้ที่ต้องการบริการส่งข้อมูลความเร็วสูง หรือต้องการเพิ่ม ประสิทธิภาพการส่งข้อมูล ระบบ CDMA2000 1xEV-DO จะ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่า Mbps โดยมีค่า เฉลี่ยความเร็วมากกว่า 700 kbps เทียบเท่ากับการส่งสัญญาณ ด้วยสายแบบ DSL และมีความเร็วเพียงพอที่จะรองรับการใช้งาน ที่ต้องการประสิทธิภาพ ในการส่งข้อมูลความเร็วสูง อาทิ ภาพ วิดีโอ และการดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่ ทั้งนี้ การส่งข้อมูลด้วย ระบบ CDMA20001xEV-DO นับเป็นเทคโนโลยีการส่งข้อมูล ที่มีต้นทุนต่ำสุด เมื่อคิดเป็นต้นทุนต่อเมกะไบต์   ซึ่งปัจจัยดังกล่าว เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การใช้อินเตอร์เน็ตไร้สายเป็นที่แพร่หลาย อย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ 1xEV-DO ยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลแบบ แพคเก็ท “always-on” ซึ่งช่วยให้การใช้ระบบไร้สาย มีความ สะดวกรวดเร็ว และเกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา

เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สาย ยุค 3G : WCDMA

 

 WCDMA  วายแบนด์ซีดีเอ็มเอ – Wideband Code-Division Multiple Access

                    เป็นเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอที่มีมาตรฐานตามข้อกำหนดของไอทียู และเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อว่า IMT-2000 WCDMA เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารระบบไร้สายในยุคที่ 3 และมีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแบบไร้สายผ่านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไร้สายความเร็วสูง โดยมีประสิทธิภาพการทำงานเหนือกว่าเทคโนโลยีทั่วไปที่ใช้ในตลาดในปัจจุบัน

                    วายแบนด์ซีดีเอ็มเอมีประสิทธิภาพในการสื่อสารรับส่งสัญญาณเสียงภาพข้อมูลและภาพวิดีโอด้วย ความเร็วสูงถึง 2 เมกกะบิตต่อวินาที แต่สำหรับการให้บริการในปัจจุบันความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 384 กิโลบิตต่อวินาที (แนวกว้าง wide area access) โดยสัญญาณขาเข้าจะถูกแปรเป็นสัญญาณดิจิตอลและส่งไปเป็นรหัสผ่านแถบคลื่นสัญญาณกระจายไปสู่คลื่นความถี่ต่างๆ ผู้ให้บริการเทคโนโลยีนี้จะใช้แถบคลื่นสัญญาณที่ 5 MHz ซึ่งต่างจากผู้ให้บริการที่ให้บริการเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอในย่านความถี่แคบที่ใช้ช่องสัญญาณที่ 1.25 MHz

                       NTT DoLoMo เป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการ WCDMA ในเชิงพาณิชย์ ในปี 2001 จนในปัจจุบันมีผู้ให้บริการถึง 65 รายทั่วโลก  พัฒนาการก้าวต่อไปของเทคโนโลยี WCDMA จะนำไปสู่ความสามารถในการส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงขึ้น ซึ่งเรียกว่า HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 1.8 – 14.4 Mbps

การก้าวกระโดดของเทคโนโลยี GSM

                    WCDMA เป็นระบบ 3G ของฝั่งระบบ GSM การพัฒนาสู่ 3G ของระบบ GSM นั้นจะต้อง “เปลี่ยน” ระบบไปเป็น WCDMA และเพราะ WCDMA เป็นการพัฒนาเข้าสู่ 3G ของระบบ GSM นี่เอง ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้งหลาย  กำหนดให้ระบบ GSM สามารถ ทำงานร่วมกับระบบ WCDMA ได้ ในช่วงที่กำลังเกิด “รอยต่อ” หรือ ช่วง “พลัดเปลี่ยน” เทคฯ และเหตุนี้เองจึงทำได้เกิดมือถือแบบ Dual Mode (GSM/WCDMA) ขึ้นมาอย่างที่เราเห็นๆกันอยู่ “เราจึงเรียก WCDMA ว่าเป็นระบบ 3G ของฝั่งระบบ GSM”

ส่วนระบบ cdma2000 มันพัฒนามาจาก cdmaOne <หรือ cdma ธรรมดา (IS-95)>

และการพัฒนาสู่ 3G ของเจ้า cdma นี้ “ไม่ต้อง” เปลี่ยนเทคฯ การพัฒนาจึงแค่ “อัพเกรด” ไปตามรายละเอียดมันดังนี้

 cdma > cdma2000 1x > cdma2000 1xEV-DO ฯลฯ

 ภาพนี้เป็น Road Map ของการพัฒนาจาก 2G สู่ 3Gของทั้ง 2 ฝั่งเทคโนโลยี 

 

 

 

 

 

 

เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สาย ยุค 4G

                          4G ( Forth Generation ) เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที

ลักษณะเด่นของ 4G

 4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน  เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G  เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก  คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps  เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย  ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว  หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน  ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G  กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ “ดิจิตอลคอนเทนต์” เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง  เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง  สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ  ดังนั้น  การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า  3G ก่อนคู่แข่ง  น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด

                               ความโดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย  นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่  เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ 

                            อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังคงอิงกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เลย  เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง  ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง  สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล  ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้ ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมไม่รวมเทคโนโลยี 3G กับ WiMAX เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น “interim 4G” หรือ “4G เฉพาะกิจ” เพื่อไปเร่งพัฒนา “4G ตัวจริง” (Real 4G) กันออกมาไม่ดีกว่าหรือ จึงเป็นเสียงที่คิดดังๆจากหลายกลุ่มในปัจจุบัน

                            แน่นอนที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4G ที่หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ลิงค์/อัพลิงค์ (downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps

ทำไมจึงอยากได้ 4G

                        เป็นคำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้

1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์  เป็นต้น

2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า  สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G

3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability

4. ค่าใช้จ่ายถูกลง

5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย

พัฒนาการของ 4G สำหรับมาตรฐานต่างๆ

                     หากพิจารณาในบริบทของมาตรฐานเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิจิทัลที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ จีเอสเอ็ม (GSM) และ ซีดีเอ็มเอ (CDMA) แล้วสามารถสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบลำดับพัฒนาการของมาตรฐานได้ดังตารางข้างล่างนี้

ในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G ของ GSM กับ CDMA นั้น ยังคงแข่งขันกันอยู่ต่อไป กล่าวคือ

                      GSM จะพัฒนาสู่ 4G โดยใช้รูปแบบการเข้าถึง (access type) เป็น UMTS LTE (Universal Mobile Telephone System – Long term Evaluation) คาดหมายว่า จะสามารถทำความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ได้ที่ 100 mbps / 50 mbps

                     ในขณะที่ CDMA ใช้รูปแบบการเข้าถึงเป็น CDMA EV-DO Rev.C (กล่าวคือ เป็น UMB หรือ Ultra-mobile broadband) และมีความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ที่ 129 mbps / 75.6 mbps

หาก 4G จะเกิดจากการรวม WiMax เข้ากับ 3G

                     ท่ามกลางกระแสการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยี 3G ที่กำลังถูกเทคโนโลยีใหม่อย่างไวแมกซ์ (WiMAX) เข้ามาตีเสมอ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสมาเหนือกว่า 3G อีกด้วย  นักวิเคราะห์และผู้เกี่ยวข้องในวงการโทรคมนาคมหลายกลุ่ม กล่าวกันถึงขนาดที่ว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ของหลายประเทศที่ปัจจุบันครองตลาดส่วนใหญ่ของประเทศหรือมีอำนาจเหนือตลาดคงจะไม่ยอมให้บริการไวแมกซ์เกิดขึ้นในตลาดได้ง่ายๆ  ประกอบกับบางประเทศยังมีปัญหาต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการไวแมกซ์ เช่น แผนเลขหมายแห่งชาติที่มีการจัดสรรความถี่ให้กับบริการไวแมกซ์  กฎ ระเบียบในการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมีการแข่งขันที่เป็นธรรม  และความพร้อมในการลงทุนของผู้ให้บริการ เป็นต้น

                    หากจะรวมกันจริงๆแล้ว หลายฝ่ายยังมีความเชื่อว่า 3G คงจะไม่ถึงกับไปรวมอยู่ใต้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว  เนื่องจาก 4G ควรจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ที่ระดับความเร็วอินเตอร์เน็ต (เช่น 10 Mbps) และใช้งานร่วมกัน (integrated) ได้ทั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน (LAN – local area network) กับแวน (WAN – wide area network) แบบไร้สาย ด้วยการรวมเทคโนโลยี 3G และ WiMAX เข้าด้วยกันในเครื่องเดียวกัน

                     โดยมาตรฐานของ WiMax หรือ 802.16 สามารถให้บริการด้านบรอดแบนด์ไร้สายได้ไกลถึง 30 ไมล์ด้วยความเร็วประมาณ 10 Mbps สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่สำหรับบริการ WiMAX มีหลายประการที่ต้องมีการพัฒนาต่อไปจากที่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ในระดับหนึ่งแล้ว เช่น ตัวมาตรฐานเองที่ยังไม่ค่อยนิ่งเท่าใดนัก การพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของโครงข่าย (ซึ่งรวมถึงตัวเครื่องลูกข่ายด้วย)  การเคลื่อนที่ของลูกข่ายจากสถานีฐานหนึ่งไปยังอีกสถานีฐานหนึ่งโดยไม่มีปัญหาสายหลุดหรืออาการสัญญาณสะดุด เป็นต้น จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าในขณะนี้คงต้องรอให้มาตรฐานเทคโนโลยี WiMAX ผ่านกระบวนการพัฒนาจนถึงขั้นเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ (mature) แล้ว อาจเป็นไปได้ที่จะมีความพยายามนำเทคโนโลยี 3G และ WiMAX มาผสมผสานกันเป็น 4G หากกลุ่มที่พัฒนา 4G ไม่รีบชิงพัฒนา 4G หนีการรวมตัวกับ WiMAX ไปเสียก่อน

*** Reference***

http://www.ku.ac.th

http://www.tlcthai.com

http://thainews.prd.go.th

ประวัติย่อ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

การศึกษา

• ปริญญาเอกวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม

Ph.D. in Electrical Engineering (Telecommunications) จาก State University System of Florida; Florida Atlantic University, USA

• ปริญญาโทวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม (ระบบสื่อสารเคลื่อนที่)

MS in EE (Telecommunications) จาก The George Washington University, USA

• ปริญญาโทวิศวกรรมไฟฟ้า (เครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์)

MS in EE จาก Georgia Institute of Technology, USA

• ปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม (เกียรตินิยมเหรียญทอง)

จาก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (นักเรียนเตรียมทหารรุ่น 26, จปร. รุ่น 37) BS.EE. (Telecommunication Engineering)

• มัธยมปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

 เกียรติประวัติด้านการศึกษา

• จบการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม อันดับที่ ๑ ด้วยเกียรตินิยมเหรียญทอง

• ได้รับเกียรตินิยมปริญญาเอก Outstanding Academic Achievement จาก Tau Beta Pi Engineering Honor Society และ Phi Kappa Phi Honor Society

• ได้รับทุนวิจัยระดับปริญญาเอกจาก EMI R&D LAB (Collaboration between Florida Atlantic University and Motorola, Inc.) หลักสูตรประกาศนียบัตร

• หลักสูตรการรบร่วมรบผสม (Joint and Combined Warfighting Course), National Defense University, Norfolk ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทุนต่อต้านก่อการร้ายสากล (Counter Terrorism Fellowship Program) กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา

• หลักสูตรการบริหารทรัพยากรเพื่อความมั่นคง (Defense Resourse Management) โดยทุน International Military Education and Training (IMET) program, Naval Postgraduate School ประเทศสหรัฐอเมริกา

• หลักสูตร Streamlining Government Through Outsourcing Course โดยทุน International Military Education and Training (IMET) program, Naval Postgraduate School ประเทศสหรัฐอเมริกา ตำแหน่งและหน้าที่ปัจจุบัน

• ประจำกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย

• กรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

• ผู้ช่วยเลขานุการในคณะประสานงานการบริหารคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐ ภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

• กองบรรณาธิการ NGN Forum สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

• บรรณาธิการวารสาร International Journal of Telecommunications, Broadcasting, and Innovation Management

• ประธานโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการกำกับดูแลเรื่องการบริหารคลื่นความถี่ด้วยเทคโนโลยี Dynamic Spectrum Allocation เพื่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ภายใต้การสนับสนุนของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

• อาจารย์พิเศษภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

• รองศาสตราจารย์ Business School, TUI University International, USA. (Accredited Internet Distance Learning University)

• รองศาสตราจารย์ American University of London (Internet Distance Learning University)

• กรรมการกำกับมาตรฐานในหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าโทรคมนาคม, วิศวกรรมซอฟท์แวร์, เกมส์และมัลติมีเดีย, เทคโนโลยีสารสนเทศ, การจัดการสารสนเทศ ในหลายมหาวิทยาลัย ทั้งของรัฐบาลและเอกชน

• อาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยรังสิต ตำแหน่งและหน้าที่สำคัญในอดีต

• ผู้บังคับหมวด กองพันทหารสื่อสารที่ ๑ รักษาพระองค์

• อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

• ผู้พิพากษาสมทบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

• ช่วยราชการสำนักงานเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารบก

• ปฏิบัติหน้าที่ใน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ๑. ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญและเลขานุการ ประธานกรรมการฯ ๒. ตำแหน่งกรรมการกำกับดูแล การดำเนินงานและโครงการ

• อนุกรรมการบริหารโปรแกรมเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิว เตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

• อนุกรรมาธิการ ทรัพยากรน้ำ ในคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสนช.

• ที่ปรึกษาโครงการดาวเทียมเพื่อความมั่นคงศูนย์พัฒนากิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง กระทรวงกลาโหม

• หัวหน้าโครงวิจัย การศึกษาความเป็นไปได้การจัดสร้างพื้นที่ทดสอบความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าและสอบเทียบสายอากาศ ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สนับสนุนโครงการโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA)

• อนุกรรมการ การประชาสัมพันธ์ สื่อทางอินเทอร์เน็ต ศาลยุติธรรม

• ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาหามาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของเกมส์คอมพิวเตอร์ (ออนไลน์) ในสภาผู้แทนราษฎร

• กรรมการร่างหลักเกณฑ์ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมสื่อสาร และโครงข่ายสถานีวิทยุคมนาคมภาคพื้นดิน ภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

• คณะทำงานกำหนดคุณลักษณะเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย และกำหนดขอบเขตการจ้างที่ปรึกษาในการออกแบบและพัฒนาระบบงาน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

• ที่ปรึกษาในคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (CIO Board) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

• อนุกรรมการปรับปรุงระบบข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

• นักวิจัย Visiting Researcher, Asian Center for Research on Remote Sensing (ACRoRS); Asian Institute of Technology (AIT)

• นักวิจัย Visiting Researcher, FAU EMI R&D LAB, Boca Raton, Florida, USA

• ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

• ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัยและพัฒนา กระทรวงกลาโหม

• ผู้ประเมินนักวิจัยดีเด่นประจำปี ของสภาวิจัยแห่งชาติ

• Adjunct Professor, School of Information Technology, Southern Cross University, Australia

• Adjunct Professor, Southern Cross University, Australia (Cooperation with Narasuan University, Thailand)

• Adjunct Professor, University of Canberra, Australia (Cooperation with Narasuan University, Thailand) ผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ

• วารสารวิจัยระดับนานาชาติ ๒๒ ฉบับ

• วารสารการประชุมทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ๖๓ ฉบับ

WiMAX Technology : คลื่นลูกใหม่ของโลกไร้สายที่กำลังจะมาถึง

              เมื่อการเชื่อมโยงแบบไร้สายเป็นทางเลือกที่เพิ่มมูลค่าขึ้นได้อย่างรวดเร็วดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อุปสรรคทางภูมิศาสตร์ไม่อาจกางกั้นไฟแห่งแรงปรารถนาของมนุษยชาติ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นโครงข่ายสื่อสารที่โยงใยผู้คนทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน การสื่อสารไร้สายความเร็วสูงที่ครอบคลุมพื้นที่ได้ถูกวิวัฒนาการขึ้น ให้ผู้คนโลดเล่นไปเฉกเช่นจินตนาการของโลกแห่งเวทมนต์ ก็เพียงแต่คุณอยู่หน้าจอ ก็สามารถเดินทางรอนแรมท่องเที่ยวไปทั่วโลกได้แค่ชั่วพริบตา
              ในยุคแรกของการนำเอาเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายมาใช้งานนั้นมักจะมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) ซึ่งเชื่อมโยงระบบเครือข่ายภายในอาคาร 2 แห่งเข้าด้วยกันเพื่อให้ติดต่อสื่อสารถึงกันได้ ซึ่งต่อมาการใช้งานรูปแบบนี้มีข้อจำกัด  จึงได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อในอีกรูปแบบหนึ่งขึ้น โดยเป็นการเชื่อมต่อแบบจุดหนึ่งไปหลาย ๆ จุดได้ (Point-to-Multipoint) ซึ่งวิธีการนี้ทำให้ผู้ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์สามารถให้บริการที่ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้กว้างขึ้น ซึ่งในแง่ของธุรกิจแล้วนั้นให้ความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่า ดังนั้นระบบบรอดแบนด์ไร้สายจึงเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถขยายพื้นที่ในการให้บริการบรอดแบนด์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังใช้งบประมาณในการลงทุนที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการติดตั้งระบบบรอดแบนด์แบบใช้สายอย่างโครงข่ายใยแก้วนำแสงที่ต้องมีการลากสายและติดตั้งท่อร้อยสายใต้ดินรวมถึงจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ใช้ในการใช้บริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงในราคาประหยัดอีกด้วย
                 สำหรับการเติบโตของบรอดแบนด์ทั่วโลกโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียนั้นได้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและได้มีการคาดการณ์ไว้ว่าจะยังคงเติบต่ออย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วสูงมากกว่า แต่เทคโนโลยีเก่าอย่าง Dial-Up ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานและสื่อแบบมัลติมีเดียที่เป็นการสื่อสารทั้งสัญญาณภาพ เสียงและข้อมูลได้ ดังนั้นจากเหตุผลที่ได้กล่าวมาทำให้เทคโนโลยีการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่ลงทุนต่ำและเป็นเทคโนโลยีซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นส่วนขยายของบริการฮอตสปอทหรือการบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงไปยังจุดซึ่งโครงข่ายใยแก้วนำแสงไม่ได้ครอบคลุมถึงตลอดจนเป็นส่วนขยายไปยังผู้ใช้ ปลายทางหรือที่เรียกว่า Last Mile ของเทคโนโลยีแบบมีสายอื่น

WiMAX คืออะไร ?
            WiMAX เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุดที่คาดหมายกันว่า จะถูกนำมาใช้งานในอนาคตอันใกล้นี้ โดย  WiMAX เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access ซึ่งเป็นเทคโนโลยี
บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 ซึ่งมาก็ได้พัฒนามาตรฐาน  IEEE 802.16a ขึ้น โดยได้การอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ซึ่ง
มีรัศมีทำการที่ 30 ไมล์ หรือเป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ซึ่งนั่นหมายความว่า WiMAX สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มากถึง 10 เท่า ยิ่งกว่านั้นก็
ยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 เท่าทีเดียว
             โดยมาตรฐาน IEEE 802.16a หรือ WiMAX มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆ กัน  โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ
Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ WiMAX สามารถช่วยให้ผู้ที่ใช้งาน สามารถขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps มาตรฐาน IEEE 802.16a นี้ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่ความถี่ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)  และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี
             จากจุดเด่นของการทำงานของ WiMAX ข้างต้น ทำให้เทคโนโลยีตัวนี้สามารถตอบสนองความต้องการของการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้กับพื้นที่ที่ห่างไกล ที่สายเคเบิ้ลไม่สามารถลากไปไม่ถึงได้เป็นอย่างดี ตลอดจนเพิ่มความสะดวกสบาย และประหยัดสำหรับการขยายเครือข่ายในเมืองที่มีอยู่แล้วได้ เนื่องจากไม่ต้อง
ลงทุน ขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิลใยแก้วใหม่ นอกจากนั้น WiMAX หรือบรอดแบนด์ไร้สาย มาตรฐาน IEEE 802.16a ยังได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพของคุณภาพในการให้ ้บริการ (QoS) ซึ่งสามารถรองรับการใช้ การใช้งานภาพ (video) หรือการใช้งานเสียง (voice) ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรของเครือข่ายมากอย่างเก่า (low-latency network) อีกทั้งในเรื่องของความปลอดภัยยังได้เพิ่มคุณสมบัติของความเป็นส่วนตัว (privacy) ซึ่งต้องได้รับอนุญาต (authentication) ก่อนที่จะเข้าออกเครือข่าย และข้อมูลต่างๆ ที่รับส่งก็จะได้รับการเข้ารหัส (encryption) อีกด้วย ทำให้การรับส่งข้อมูลบน มาตรฐานตัวนี้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวนี้ ทำให้เราสามารถนำ WiMAX ไปประยุกต์เพื่อลดช่องว่างของ เทคโนโลยีในพื้นที่ห่างไกลที่เทคโนโลยีเข้าไปไม่ถึง ตลอดจนสนองความต้องการ การใช้งานบรอดแบนด์ในเมืองที่มีพื้นที่แออัดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการติดตั้งเครือข่ายในแบบวางสายสัญญาณที่ใช้งานกันอยู่ 

 เปรียบเทียบเทคโนโลยีไร้สายในแบบต่างๆ

เทคโนโลยี มาตรฐาน เครือข่าย อัตราความเร็ว ระยะทาง ความถี่
Wi-Fi IEEE 802.11a WLAN สูงสุด 54Mbps 100 เมตร 5GHz
Wi-Fi IEEE 802.11b WLAN สูงสุด 11Mbps 100 เมตร 2.4GHz
Wi-Fi IEEE 802.11g WLAN สูงสุด 54Mbps 100 เมตร 2.4GHz
WiMAX IEEE 802.16d WMAN สูงสุด 75Mbps (20MHz BW) ปกติ 6.4 – 10 กิโลเมตร Sub 11GHz
WiMAX IEEE 802.16e Mobile WMAN สูงสุด 30Mbps (10MHz BW) ปกติ 1.6 – 5 กิโลเมตร 2 – 6 GHz
WCDMA/UMTS 3G WWAN สูงสุด 2Mbps/10Mbps (HSDPA) ปกติ 1.6 – 8 กิโลเมตร 1800, 1900, 2100MHz
CDMA2000 1x EV-DO 3G WWAN สูงสุด 2.4Mbps ปกติ 1.6 – 8 กิโลเมตร 400, 800, 900, 1700, 1800, 1900, 2100MHz
EDGE 2.5G WWAN สูงสุด 348Kbps ปกติ 1.6 – 8 กิโลเมตร 1900MHz
UWB IEEE 802.15.3a WPAN 110 – 480Mbps 10 เมตร 7.5GHz

 

สำหรับมาตรฐานของเทคโนโลยี WiMAX ที่มีการพัฒนาขึ้นมาในขณะนี้นั้น มีดังต่อไปนี้

 

 

 

  • IEEE 802.16 เป็นมาตรฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6 – 4.8 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) โดยมีการใช้งานในช่วงความถี่ที่สูงมากคือ 10-66 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)
  • IEEE 802.16a เป็นมาตรฐานที่แก้ไขปรับปรุงจาก IEEE 802.16 เดิม โดยใช้งานที่ความถี่ 2-11 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งคุณสมบัติเด่นที่ได้รับการแก้ไขจากมาตรฐาน 802.16 เดิมคือคุณสมบัติการรอง
    รับการทำงานแบบที่ไม่อยู่ในระดับสายตา ( NLoS – Non-Line-of-Sight) ทั้งยังมีคุณสมบัติการทำงานเมื่อมีสิ่งกีดขวาง อาทิเช่น ต้นไม้, อาคาร ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังช่วยให้สามารถขยายระบบเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงได้อย่างกว้างขวางด้วยรัศมีทำการที่ไกลถึง 31 ไมล์  หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)  ทำให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อการใช้งานระบบเครือข่ายของบริษัทที่ใช้สายประเภท ที1 (T1-type) กว่า 60 รายและการเชื่อมต่อแบบ DSL ตามบ้านเรือนที่พักอาศัยอีกหลายร้อยครัวเรือนได้พร้อมกันโดยไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน
  • IEEE 802.16e เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาให้สนับสนุนการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาประเภทต่างๆ เช่น อุปกรณ์พีดีเอ โน้ตบุ๊ก เป็นต้น โดยให้รัศมีทำงานที่ 1.6 – 4.8 กิโลเมตร มีระบบที่ช่วยช่วยให้ผู้ใช้งานยังสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดีและมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม

แผนภาพระบบ WiMAX

 

แผนภูมิแสดงการทำงานของเทคโนโลยีไวแม็กซ์ ข้อมูลบอกว่าเวอร์ชั่นล่าสุดสามารถดาวน์โหลดด้วยความเร็วถึง 70 Mbps ในรัศมี 1-10 กม.ในเขตเมือง และ 50 กม.ในเขตชนบท ที่ไร้สิ่งกีดขวาง ถึงวันนั้นการสื่อสารในโลกนี้ก็จะไม่เหมือนเดิม 

รูปแบบการใช้งาน WiMAX ในส่วนต่าง
                 ระบบบรอดแบนด์ตามความต้องการ (Broadband on-demand) สำหรับระบบเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน WiMAX นั้น จะช่วยให้เหล่าโอเปอเรเตอร์ต่างๆ สามารถจัดสรรงานบริการที่มีความเร็วสูงเทียบเท่าระบบเครือข่ายแบบใช้สายได้ โดยใช้เวลาการติดตั้งที่น้อยกว่า มีราคาที่ถูกกว่ามาก นอกจากนั้น WiMAX ก็ยังช่วยให้มีการจัดเตรียมการใช้งานระบบสื่อสารความเร็วสูงในรูปแบบตามความต้องการได้ในทันทีทันใด โดยรูปแบบนี้เหมาะสำหรับการทำงานในแบบชั่วคราว อาทิเช่น การจัดนิทรรศการ การจัดงานงานประชุม การจัดงานแสดงสินค้า เป็นต้น
                  ระบบการสื่อสารบรอดแบนด์สำหรับที่พักอาศัย  ขณะที่เทคโนโลยีการใช้งานสายเคเบิลและเทคโนโลยี DSL ที่ถูกใช้งานในปัจจุบันนั้นมีช่องว่างในการใช้งานมาก ด้วยข้อจำกัดของการวางโครงข่ายที่มีอยู่และต้นทุนของการวางระบบ  ทำให้ไม่สามารถให้บริการกับผู้ที่ต้องการใช้งานจำนวนมากซึ่งต้องการระบบการสื่อสารระดับบรอดแบนด์ได้ แต่ข้อจำกัดเหล่านี้จะถูกทลายลง เมื่อมีการเปิดตัวระบบที่อ้างอิงกับมาตรฐาน WiMAX ออกมา โดยแอพพลิเคชันสำหรับการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สาย WiMAX จะช่วยให้สามารถพัฒนางานต่างๆ ที่สนองตอบความต้องการการใช้งานบรอดแบนด์ในรูปแบบต่างๆ ได้
                 พื้นที่ซึ่งบริการเข้าไม่ถึง นับว่าเทคโนโลยีระบบการสื่อสารอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงที่ได้อ้างอิงกับมาตรฐาน WiMAX นี้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการใช้งานในพื้นที่ห่างไกล ในเขตที่มีข้อจำกัดของการเดินสายนำสัญญาณในระบบ DSL บริการการสื่อสารแบบไร้สายคุณภาพสูง มาตรฐานIEEE 802.16e ซึ่งเป็นส่วนต่อเติมของ IEEE 802.16a นั้นเป็นคุณสมบัติแบบพิเศษที่พัฒนาขึ้นมาให้รองรับการใช้งานในแบบที่ต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา เหมาะสำหรับอุปกรณ์ในแบบพกพาสำหรับการเดินทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานยังสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดีและมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม
การส่งสัญญาณแบบ Cellular Backhaul ด้วยแบนด์วิดท์การใช้งานของ WiMAX ที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือ จึงทำให้มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับการที่จะนำมาใช้งานให้รองรับการส่งสัญญาณในแบบย้อนกลับไปยังสถานีฐานระบบเซลลูลาร์ ซึ่งมีการติดต่อสื่อสารกันในแบบจุดต่อจุดได้

ประโยชน์ WiMAX   

1. ความสามารถในการขยายระบบ
WiMAX นั้นมีความสามารถในเรื่องการรองรับการใช้งานแบนด์วิดท์, ช่องสัญญาณ สำหรับการสื่อสารได้ด้วยความยืดหยุ่น โดยสามารถปรับให้สอด คล้องกับแผน–การติดตั้งเซลล์ในย่านความถี่ที่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ หรือ ย่านความถี่ที่ได้รับการยกเว้นค่าลิขสิทธิ์ทั่วโลก เช่น ถ้าโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการนั้น ได้รับคลื่นความถี่ 20 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็สามารถที่จะทำการแบ่งคลื่นความถี่นี้ออกเป็น 2 ส่วน โดยแต่ละส่วนนั้นอยู่ที่ 10 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หรือจะแบ่ง ออกเป็น 4 ส่วนๆ ละ 5 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็ได้ ทำให้โอเปอเรเตอร์สามารถบริหารจัดการแต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเพิ่มเติมผู้ใช้งานในแต่ละ ส่วนได้อีกด้วย

2.  ระบบรักษาความปลอดภัย
นับเป็นคุณสมบัติ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยคุณสมบัติของการรักษาความลับของ
ข้อมูลและการเข้ารหัสข้อมูล ซึ่ง อยู่ในมาตรฐาน WiMAX ที่จะช่วยให้การสื่อสารมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แถมยังมีระบบตรวจสอบสิทธิการใช้งานและมีระบบการเข้ารหัสข้อมูลในตัวด้วย

3. การประยุกต์การใช้งาน
ทำให้เราสามารถนำ WiMAX ไปประยุกต์เพื่อลดช่องว่างของ เทคโนโลยีในพื้นที่ห่างไกลที่เทคโนโลยีเข้าไปไม่ถึง ตลอดจนสนอง ความต้องการการใช้งานบรอดแบนด์ในเมืองที่มีพื้นที่แออัดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการติดตั้งเครือข่ายในแบบวางสายสัญญาณที่ ใช้งานกันอยู่

                  แม้ว่าในขณะนี้ WiMAX จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ WiMAX ก็ถือว่า เป็นเทคโนโลยีที่มีอนาคตสดใส เป็นทางเลือก หนึ่งที่จะเข้ามาช่วยตอบสนองความต้องการการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งมีแนวโน้มเติบโต อย่างรวดเร็วได้เป็นอย่างดี และหากมองถึงประโยชน์ในการ ขยายเครือข่ายบรอดแบนด์ให้เข้าถึงพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลแล้ว ผลประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานทุกคนที่จะมีโอกาสได้ใช้เครือข่ายสื่อสารความเร็วสูงอย่าง เท่าเทียมกัน รวมไปถึงการช่วยสร้างรายได้และโอกาสทางการตลาดให้กับเหล่าโอเปอเรเตอร์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย รวมทั้งบรรดาผู้ผลิต อุปกรณ์ที่ เกี่ยวข้อง และเชื่อได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะได้สัมผัสกับเทคโนโลยี WiMAX อย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับที่ Wi-Fi ประสบความสำเร็จอยู่ในปัจจุบัน

เรื่องของความเร็ว สำหรับ WiMAX นั้น ได้ให้อัตราความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลมากถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) โดยใช้กลไกการเปลี่ยนคลื่นสัญญาณที่ให้ประสิทธิภาพสูง สามารถส่งสัญญาณออกไปได้ในระยะทางไกลมากถึง 30 ไมล์ หรือ 48 กิโลเมตร ภายใต้คลื่นความถี่ระดับสูงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทั้งก็ยังไม่มีปัญหาเรื่องของสัญญาณสะท้อนอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว สถานีฐาน(Base Station) ยังสามารถพิจารณาความเหมาะสมในระหว่างความเร็ว และระยะทางได้อีก ตัวอย่างเช่น ถ้าหากการใช้เทคนิคในแบบ 64 QAM (Quadarature Amplitude Modulation) ไม่สามารถรองรับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพได้ การเปลี่ยนไปใช้ 16 QAM หรือ QPSK (Quadarature Phase Shift Key) ซึ่งจะช่วยเพิ่มระยะทางการในการสื่อสารให้มากขึ้นได้
                การบริการที่ครอบคลุม นอกจาก WiMAX จะใช้เทคนิคของการแปลงสัญญาณที่ให้ความคล่องตัวในการใช้งานสูง และเปี่ยมประสิทธิภาพแล้ว มาตรฐาน IEEE 802.16a ก็ยังสามารถรองรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีซึ่งขยายพื้นที่การให้บริการให้กว้างขวางมากขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่ายที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน (Mesh Topology) และเทคนิคการใช้งานกับเสาอากาศแบบอัจฉริยะ (Smart Antenna) ที่ช่วยประหยัดต้นทุนและเพิ่มอัตราความเร็วของการรับส่งสัญญาณที่ให้สมรรถนะในการทำงานน่าเชื่อถือสูง
                ความสามารถในการขยายระบบ: WiMAX นั้นมีความสามารถในเรื่องการรองรับการใช้งานแบนด์วิดท์, ช่องสัญญาณ สำหรับการสื่อสารได้ด้วยความยืดหยุ่น โดยสามารถปรับให้สอดคล้องกับแผนการติดตั้งเซลล์ในย่านความถี่ที่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ หรือ ย่านความถี่ที่ได้รับการยกเว้นค่าลิขสิทธิ์ทั่วโลก อาทิเช่น ถ้าโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการนั้นได้รับคลื่นความที่ 20 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็สามารถที่จะทำการแบ่งคลื่นความถี่นี้ออกเป็น 2 ส่วน โดยแต่ละส่วนนั้นอยู่ที่ 10 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หรือจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ๆ ละ 5 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็ได้ ทำให้โอเปอเรเตอร์สามารถบริหารจัดการแต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเพิ่มเติมผู้ใช้งานในแต่ละส่วนได้อีกด้วย
                การจัดลำดับความสำคัญของงานบริการ (QoS – Quality of Service) สำหรับระบบเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน WiMAX นี้ มีคุณสมบัติด้าน QoS (Quality of Service) ที่รองรับการทำงานของบริการสัญญาณเสียงและสัญญาณวิดีโอ ซึ่งต้องการระบบเครือข่ายที่ไม่สามารถทำงานด้วยความล่าช้าได้ บริการเสียงของ WiMAX นี้ อาจจะอยู่ในรูปของบริการ Time Division Multiplexed (TDM) หรือบริการในรูปแบบ Voice over IP (VoIP) ก็ได้ โดยโอเปอเรเตอร์สามารถกำหนดระดับความสำคัญของการใช้งานให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานต่างๆ อาทิ สำหรับบริการให้องค์กรธุรกิจ, ผู้ใช้งานตามบ้านเรือน เป็นต้น
              ระบบรักษาความปลอดภัย นับเป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยคุณสมบัติของการรักษาความลับของข้อมูลและการเข้ารหัสข้อมูล ซึ่งอยู่ในมาตรฐาน WiMAX ที่จะช่วยให้การสื่อสารมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แถมยังมีระบบตรวจสอบสิทธิการใช้งานและมีระบบการเข้ารหัสข้อมูลในตัวด้วย
                สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายมาตรฐาน WiMAX นั้น มีองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งจากบรรดาบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Nokia, Intel, Proxim, Fujitsu, Alvarion ฯลฯ ที่มีชื่อเรียกกันว่า WiMAX Forum ขึ้น เพื่อร่วมกันพัฒนาและกำหนดมาตรฐานกลางของเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงมาตรฐาน IEEE 802.16 รวมถึงการทำหน้าที่ทดสอบและออกใบรับรองให้แก่อุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐานไร้สายระบบใหม่  ทั้งนี้มาตรฐาน IEEE 802.16 จะถูกเรียกกันโดยทั่วไปว่า WiMAX เช่นเดียวกับที่มาตรฐาน  IEEE 802.11 เคยได้รับการรู้จักในชื่อ Wi-Fi มาแล้ว

อินเทลร่วมการเปิดตัวไวแม็กซ์ (WiMAX)

 

        อินเทลมองว่าการนำไวแม็กซ์ (WiMAX) มาใช้จะเกิดขึ้นเป็นสามระยะ ระยะแรก คือ เทคโนโลยีไวแม็กซ์ (WiMAX) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.16 -2004 ที่จะให้การเชื่อมต่อไร้สายแบบเฉพาะที่ผ่านเสาสัญญาณกลางแจ้งซึ่งจะเกิดขึ้นในครึ่งแรกของปี 2548 ความสามรถไร้สายเฉพาะที่กลางแจ้งสามารถใช้ได้กับองค์กรที่มีข้อมูลจำนวนมาก (บริการระดับ T1/E1) ฮอตสปอตและช่องสื่อสารภาคพื้นดินเครือข่ายเซลลูลาร์และบริการสำหรับที่อยู่อาศัยในตลาดระดับบน
……. อินเทล คอร์ปอเรชั่น ในฐานะผู้นำของเทคโนโลยี ไวแม็กซ์ (WiMAX) ได้เผยโฉมดีไซน์ของไวแม็กซ์ (WiMAX) แบบ “system-on-a-chop” ที่มีชื่อรหัสว่า Rosedale ให้ได้ชมกันเป็นครั้งแรกเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งเหมาะสำหรับอุปกรณ์ซึ่งสนับสนุนมาตรฐาน IEEE 802.16 -2004 อุปกรณ์นี้จะมีการติดตั้งที่บ้านหรือธุรกิจเพื่อส่งหรือรับสัญญาณบรอดแบนด์ไร้สายทำให้อินเตอร์เน็ตสามรถเชื่อมต่อได้

…..    . ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2548 จะสามารถติดตั้งไวแม็กซ์ (WiMAX) ภานในอาคารได้โดยมีเสาอากาศเล็กๆคล้ายกับจุดเชื่อมต่อแลนไร้สายที่ใช้มาตรฐาน 802.11 ในปัจจุบันแบบจำลองไวแม็กซ์ (WiMAX) ที่ใช้ในอาคารแสดงให้เห็นว่าไวแม็กซ์ (WiMAX) สามารถใช้ได้กับบรอดแบนด์ในที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคที่ครอบคลุมพื้นที่ในระยะไกล เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ “ผู้ใช้สามารถติดตั้งได้เอง” ลดต้นทุนการติดตั้งสำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคม
……. ในปี 2549 เทคโนโลยีที่ใช้มาตรฐาน IEEE 802.16e จะมีการติดตั้งเข้าไปในคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพไร้สายเพื่อสนับสนุนความเคลื่อนไหวระหว่างบริเวณที่ให้บริการไวแม็กซ์ (WiMAX) สามารถใช้ได้กับแอพพลิเคชั่นและบริการแบบพกพาและแบบที่มีประสิทธิภาพไร้สาย ในอนาคตอาจมีการใส่ประสิทธิภาพของไวแม็กซ์ (WiMAX) ลงไปในโทรศัพท์มือถือ
……. การเชื่อมต่อ DSL ความเร็วสูงและการเข้าถึงด้วยบรอดแบนด์แบบมีสายสามารถใช้ได้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์เพียงส่วนน้อยทั่วโลก ไวแม็กซ์ (WiMAX) จะทำให้สามารถสร้างการเชื่อมต่อไร้สายความเร็วสูงที่คุ้มราคาในบ้านและธุรกิจทั้งในเขตเมืองและชนบทได้ อินเทลมุ่งมั่นที่จะพัฒนาไวแม็กซ์ (WiMAX) เพื่อให้ผู้ใช้รุ่นต่อไปสามารถเข้าอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้แบบไร้สายโดยสะดวกและคุ้มราคากว่าเดิม
บทสรุป
แม้ว่าในขณะนี้ WiMAX จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย  แต่ WiMAX ก็ถือว่า เป็นเทคโนโลยีที่มีอนาคตสดใส เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยตอบสนองความต้องการการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วได้เป็นอย่างดี และหากมองถึงประโยชน์ในการขยายเครือข่ายบรอดแบนด์ให้เข้าถึงพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลแล้ว ผลประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานทุกคนที่จะมีโอกาสได้ใช้เครือข่ายสื่อสารความเร็วสูงอย่างเท่าเทียมกัน  รวมไปถึงการช่วยสร้างรายได้และโอกาสทางการตลาดให้กับเหล่าโอเปอเรเตอร์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย รวมทั้งบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 

ข้อสงสัยเกี่ยวกับ WiMAX (FAQ)

WiMAX Frequently Asked Question : บทความนี้จะทำให้ท่านเข้าใจเกี่ยวกับ WiMAX ได้เร็วขึ้น

1. WiMAX หมายถึงอะไร

คำว่า WiMAX นั้นย่อมาจาก Worldwide Interoperability for Microwave Access

2. WiMAX Technology คืออะไร

WiMAX เป็นมาตรฐานของการให้บริการระบบเครือข่ายไร้สายสำหรับโครงข่ายแบบ Broadband โดยเป็นการให้บริการไปจนถึงตัวของผู้ใช้งาน (Last Mlie) โดยตรงโดยที่มีระยะของการให้บริการสูงสุดถึง 48 กิโลเมตร และสามารถทำการส่งและรับข้อมูลได้สูงสุดคือ WiMAX เป็น Technology ที่รองรับการทำงานกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile) ได้ด้วยอัตราการส่งข้อมูลที่สูง ให้เป็นข้อได้เปรียบมากกว่าการให้บริการ Broadband แบบเดิมอย่าง DSL เป็นต้น

3. อะไรคือ WiMAX Forum

WiMAX Forum เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาโดยกลุ่มผู้ให้บริการระบบโครงข่าย กลุ่มผู้ผลิตส่วนประกอบของอุปกรณ์เครือข่ายและกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย เพื่อทำการตรวจสอบและทำการรับรองการทำงานร่วมกันได้ของอุปกรณ์ที่ผลิตออกมา ตามมาตรฐาน IEEE802.16 ทำให้เป็นการลดข้อจำกัดของการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์จากหลากหลายผู้ผลิตที่ มีอยู่ในตลาด

4. WiMAX Certified หมายถึงอะไร มีข้อแตกต่างอย่างไรกับ WiMAX Compliant

WiMAX Certified เป็นเครื่องหมายที่ใช้รับรองอุปกรณ์ที่ทำงานในระบบ Wireless Broadband ว่าจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหาและไม่มีข้อแตกต่างในด้านของการ เชื่อมต่อจากอุปกรณ์ที่ไม่ได้ผลิตจากผู้ผลิตรายเดียวกัน

ในส่วนของ WiMAX Compliant หรือ WiMAX-Ready หรือ 802.16-compliant จากผู้ผลิตรายใดๆ นั้นเป็นเพียงเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์นั้นๆ ได้ทำการผลิตขึ้นมาบนมาตรฐานของ IEEE802.16 เท่านั้น ไม่ได้เป็นเครื่องหมายรับรองการทำงานร่วมกันได้เช่นเดียวกับ WiMAX Certified

5. ทาง WiMAX Forum มีกำหนดในการรับรอง (Certify) ได้เมื่อไหร่ และทาง WiMAX Forum ได้เลือกสถานที่ใดสำหรับทำการทดสอบ

ทาง WiMAX Forum ได้มีการกำหนดให้ทาง Cetecom ที่ประเทศสเปนเป็นสถานที่เพื่อใช้งานการทดสอบอุปกรณ์เพื่อทำการออกหนังสือ รับรอง โดยเริ่มทำการทดสอบมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2005 ที่ผ่านมา และมีการคาดการว่าจะมีการออกหนังสือรับรองได้ในช่วงปลายปี 2006 นี้

6. ต้องการทราบกำหนดการที่อุปกรณ์เครือข่ายที่ได้รับ WiMAX Certified จะมีการนำออกมาขายในตลาด
ใน ส่วนของ WiMAX Forum ไม่ได้เป็นผู้กำหนดในการออกสู่ตลาดของอุปกรณ์เพราะนั่นเป็นส่วนของผู้ผลิต แต่ละรายที่จะเป็นผู้กำหนด แต่ทาง WiMAX Forum นั้นเป็นเพียงผู้ที่ทำการทดสอบและให้การรับรองอุปกรณ์เท่านั้น โดยการทดสอบจะสามารถเริ่มได้ในปี 2006 และคาดว่าในปี 2006 จะสามารถรับรองอุปกรณ์ที่นำมาทดสอบได้

7. เมื่อไหร่ที่ระบบเครือข่ายแบบ WiMAX จะมีการให้บริการจากผู้ให้บริการได้จริง

เนื่อง จากกลุ่ม WiMAX Forum เองมีสมาชิกที่เป็นกลุ่มของผู้ให้บริการอยู่และในกลุ่มของผู้ให้บริการนั้น ก็ได้มีการทดลองการติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถให้บริการการเชื่อมต่อ WiMAX เสร็จแล้วใน 125 ประเทศ ดังนั้น เมื่อใดที่อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อกับระบบ WiMAX นั้นมีการออกจำหน่ายในตลาด การให้บริการก็จะสามารถทำได้ในทันที

8. มีหน่วยงานหรือบริษัทใดบ้างที่อยู่ในกลุ่มของ WiMAX Forum

ภาย ในกลุ่มของ WiMAX Forum นั้นมีสมาชิกที่เป็นองค์กรหรือบริษัทมากกว่า 350 บริษัทที่ร่วมอยู่ใน WiMAX Forum นี้ โดยมีกลุ่มบริษัทหลักๆ ที่พอจะรู้จักกันอย่างกว้างขวาง ดังนี้ AT&T, Cisco System, Intel Corporation, Motorola, Samsung, Fujitsu, Alcatel, Ericsson, Huawei, Lucent Technologies, LG Electronics, Mitsubishi Eletric, Nokia, Nortel Network, Proxim Wireless Corporation, Siemens SPA, Agilent เป็นต้น

9. อะไรเป็นผลประโยชน์ที่ได้จาการที่อุปกรณ์ได้รับ WiMAX Certified

เนื่อง จาก WiMAX Tecnology เป็นรูปแบบการให้บริการจากผู้ให้บริการถึงผู้ใช้งานดังนั้นการที่อุปกรณ์ที่ ใช้งานในระบบ WiMAX ได้รับการรับรองก็จะทำให้ผู้ใช้งานกับระบบโครงข่าย WiMAX ที่มีอยู่ได้โดยที่จะไม่มีปัญหาเนื่องจาการทำงานของอุปกรณ์ที่มาจากผู้ผลิต คนละคนและสามารถใช้ความสามารถของ WiMAX ได้อย่างเต็มที่ตามที่กลุ่มผู้ผลิตได้มีการออกแบบไว้

10. อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างมาตรฐาน IEEE802.16 กับ WiMAX Technology

อย่าง ที่ทราบกันว่า WiMAX เป็น Technology ที่พัฒนาขึ้นมาตามมาตรฐานของ IEEE802.16 แต่ในมาตรฐาน IEEE802.16 นั้นยังมีการพัฒนาออกมาเป็นมาตรฐานย่อยๆ อื่นๆ อีกเช่น IEEE802.16a เป็นต้น ดังนั้นในส่วนของ WiMAX Technology จึงเป็นการรวบรวมมาตรฐานต่างๆ ของ IEEE802.16 ให้เป็นเพียงมาตรฐานเดียวในการอ้างอิง และเป็นมาตรฐานหลักที่ทาง WiMAX Forum ใช้เพื่อรองรับอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งานบนระบบโครงข่ายที่มีการให้บริการจริงๆ

11. อะไรคือข้อแตกต่างของแต่ละ Version ของมาตรฐาน IEEE802.16 เช่น IEEE802.16a, IEEE802.16-2004 และ IEEE802.16e

IEEE802.16a เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยการเชื่อมต่อ Wireless Broadband ให้กับอุปกรณ์ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว (Fix)

IEEE802.16-2004 เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ของผู้ใช้งานตามบ้านโดยจะเป็นการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ CPE ภายในบ้านเท่านั้น

IEEE802.16e เป็นมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE802.16-2004 เดิมโดยจะเพิ่มความสามารถในการให้บริการแก่อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile) ขึ้นมา

12. WiMAX จัดว่าเป็นคู่แข่งกับ Technology WiFi หรือไม่

จาก ที่ได้กล่าวมาแล้ว Technology WiMAX นั้นมีข้อแตกต่างกับ Technology WiFi ในด้านรูปแบบการให้บริการเพราะ WiFi เป็น Technology ที่เน้นการให้บริการกับผู้ใช้งานภายในองค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ หรือเรียกอีกอย่างว่า LAN (Local Area Network) แต่ WiMAX เป็น Technology ที่เน้นการให้บริการแก่ผู้ใช้งานในวงกว้างหรือที่เรียกว่า MAN (Metropolitan Area Network) ซึ่งมีขอบเขตการให้บริการ รวมถึงจำนวนของผู้ใช้งานมากกว่า LAN เป็นอันมาก ดังรูป

ดังนั้นรูป แบบการใช้งานระหว่าง WiFi Technology กับ WiMAX Technology จึงแตกต่างกันและไม่ได้ถือว่าเป็นคู่แข่งของกันและกัน โดยในอนาคต อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น Notebook อาจจะมีอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อได้ทั้งเครือข่าย WiFi (ดังเช่นปัจจุบัน) และโครงข่ายของ WiMAX (เหมือนกับการมีพอร์ต Modem เป็นต้น) อยู่บนอุปกรณ์ตัวเดียวกันก็ได้

13. ทำไม Technology WiMAX จึงได้มีความจำเป็นกับการให้บริการ Broadband Wireless

เนื่อง จากในปัจจุบัน การให้บริการ Broadband เช่น DSL เป็นการให้บริการแบบใช้สายเพื่อเชื่อมต่อโดยตรง ซึ่งเป็นการไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้งานเป็นอย่างยิ่ง และการให้บริการ Broadband Wireless ก็เป็นการให้บริการแก่ผู้ใช้งานที่ต้องการความสะดวกสบายเป็นหลัก รวมถึงเป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องเคลื่อนที่ไปยังจุดต่างๆ ซึ่งด้วยความต้องการแบบนี้เอง WiMAX Technology จึงจัดเป็นส่วนที่สำคัญที่สามารถจะตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานได้ เนื่องจาก Technology WiMAX นั้นสามารถจะรองรับการเชื่อมต่อจากผู้ใช้งานได้ทั้งแบบที่เป็นการเชื่อมต่อ Wireless จากจุดใดจุดหนึ่ง (Fixed Broadband Wireless) หรือการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ตลอดเวลา (Mobile Broadband Wireless) นั่นเอง

14. อะไรที่นับว่าเป็นจุดเด่นของ WiMAX Technology

เราจะสามารถจำแนกจุดเด่นของ WiMAX Technology ออกมาได้ ดังนี้

Lower Cost – เนื่องจากการให้บริการ WiMAX เป็นการให้บริการแก่ผู้ใช้จำนวนมากเหมือนดังเช่นการให้บริการ DSL ในปัจจุบัน ดังนั้นด้วยกลไกของตลาดจะทำให้ราคาของอุปกรณ์ WiMAX ที่ออกมาจำหน่ายในตลาดมีราคาที่ถูก ในที่นี้รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อกับโครงข่ายของผู้ให้บริการที่จะมี ราคาที่ถูกลงเนื่องจากการขางขันในตลาดอีกด้วย

Wider Coverage – เนื่องจากความสามารถในการให้บริการของ WiMAX Technology ทำให้ขอบเขตการให้บริการแก่ผู้ใช้งานจึงเป็นไปได้ในวงกว้าง และสามารถลดจำนวนของอุปกรณ์ BS (Based Station) ต่อบริเวณที่ให้บริการๆได้อีกด้วย

Higher Capacity – เพราะ WiMAX Technology ในความกว้างของช่วงคลื่นที่สามารถใช้งานได้มาก จึงทำให้สามารถรองรับจำนวนของผู้ใช้งานได้มากและอัตราการส่งข้อมูลที่สูง

Standard for Fixed Broadband Access and Mobile Broadband Access – นี่เป็นความสามารถที่สำคัญของ WiMAX ในอันที่เป็นมาตรฐานเดียวที่สามารถรองรับการเชื่อมต่อทั้งในแบบที่อยู่กับ ที่และแบบเคลื่อนที่ได้

**Reference**’

 http://www.wimax.in.th

http://www.wimaxthailand.com

http://www.siamwimax.com

ITS เทคโนโลยีปฏิรูปการเดินทาง

                                 ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ หรือ ITS – Intelligent Transport Systems เป็นระบบที่หลอมรวมเอาเทคโนโลยีด้านข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ และ โทรคมนาคม มาผสมผสานให้เกิดการประยุกต์ใช้งาน เช่น เทคโนโลยีประมวลผลภาพ (Image Processing) เทคโนโลยีการระบุตัวตนด้วยความถี่คลื่นวิทยุ(RFID) เทคโนโลยี การสื่อสารไร้สาย(Wireless Communication) เทคโนโลยีรู้จำเสียง (Voice Recognition) เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) เทคโนโลยีคลังข้อมูล (Data Mining) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Data Warehouse) เทคโนโลยีตรวจจับหรือรับรู้(Sensor) เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง การควบคุม การติดตาม รวมไปถึงความปลอดภัยในการเดินทาง ด้วยเทคโนโลยีอันชาญฉลาดเหล่านี้ จะสามารถบริหารจัดการการจราจรให้เป็นระบบ และตอบสนองต่อความจำเป็นของการขนส่งและเดินทางในประเทศได้ในระดับหนึ่ง เช่น ช่วยลดอุบัติเหตุ แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด และปัญหาสิ่งแวดล้อม

                                ระบบ ITS คือ แนวคิดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อช่วยปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิ ภาพให้กับระบบการจราจรและขนส่ง เช่น ความปลอดภัย และความคล่องตัวในด้านต่าง ๆซึ่งหัวใจสำคัญของระบบนี้ ก็คือ ข้อมูลและสารสนเทศ ที่จะต้องมีการประมวลผล เผยแพร่และแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้ใช้และผู้ให้บริการ โดยผ่านระบบสารสนเทศและการสื่อสารทั้งนี้ระบบ ITS ในเมืองไทยเริ่มมีมาเกือบ 20 ปีแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่ระบบเก็บเงินบนทางด่วนที่ใช้บัตรค่าผ่านทางแบบอัตโนมัติ หักเงินจากบัตรที่ติดหน้ารถแค่วิ่งผ่านด่านเก็บเงินนั่นเอง

รูปแบบการนำเอา ITS มาใช้งาน ITS ประเทศไทย

ปัญหาหลักด้านการจราจรขนส่ง โดยเฉพาะพื้นที่เขตเมืองนั้นเป็นปัญหาที่มีผลกระทบเกี่ยวเนื่องกันอันประกอบไปด้วย

–  การจราจรติดขัด ปัญหาการจราจรติดขัดเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นประจำวันในเมืองใหญ่ มี 2 ลักษณะของการติดขัด คือ การติดขัดแบบประจำที่สามารถคาดการณ์ได้เนื่องจากความต้องการในการเดินทางมีมากกว่าความจุของถนน และอีกลักษณะหนึ่ง เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น อุบัติเหตุ เหตุการณ์ธรรมชาติ งานเทศกาลพิเศษ การก่อสร้างซ่อมแซมถนน เป็นต้น

–   มลภาวะทางอากาศ ซึ่งเกิดจากไอเสียรถยนต์ การสูญเสียพลังงานเชื้อเพลิง

–    ปัญหาอุบัติเหตุ ความปลอดภัยทั้งในยานพาหนะและนอกยานพาหนะ เช่น สภาพทางกายภาพของถนน การออกแบบเรขาคณิต ฯลฯ

–   ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เพียงพอและขาดประสิทธิภาพ

                                ในประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลนั้น ปัญหาด้านการจราจรและขนส่งเป็นปัญหาหลักหนึ่งที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน กรุงเทพมหานครเป็นมหานครหนึ่งของโลกที่มีปัญหาการจราจรติดขัดมาก ส่งผลเสียทั้งทางด้านมลภาวะ สิ่งแวดล้อม สุขภาพจิต อุบัติเหตุ การสูญเสียพลังงานเชื้อเพลิง และผลเสียทางด้านเศรษฐกิจเนื่องจากเวลาในการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้น รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้จึงได้มีนโยบายในการเร่งรัดโครงการแก้ไขปัญหาการจราจรขนาดใหญ่ โดยเฉพาะระบบขนส่งมวลชนระบบรางขึ้นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปัญหาหลายอย่างสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบการขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (หรือระบบ ITS) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านข้อมูล ติดต่อสื่อสาร และคอมพิวเตอร์ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของระบบจราจรการคมนาคมขนส่งในด้านต่างๆ ได้แก่

–               ความปลอดภัย (Safety)

–               ประสิทธิภาพ (Efficiency)

–               ความน่าเชื่อถือ (Reliability)

–               การเคลื่อนที่ที่คล่องตัว (Mobility)

–               การบริการ (Customer Service)

–               คุณภาพอากาศ (Air quality)

–               การประหยัดเชื้อเพลิง

                                ITS มีหลากหลายรูปแบบการใช้งาน อาทิระบบหรือเครื่องมือวางแผนการเดินทาง ระบบข้อมูลข่าวสารสำหรับทั้งผู้ใช้บริการ (ผู้โดยสาร ผู้ขับขี่ยานพาหนะ) และผู้ให้บริการ (ผู้ประกอบการขนส่ง พนักงานขับรถสาธารณะ) ระบบอุปกรณ์ควบคุมยานพาหนะ เป็นต้น

จากข้อมูลรายงานประจำปีของสำนักการจราจรและขนส่งปี 2547 ระบุว่าปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครเกิดจาก 3 ประเด็นหลักคือ

1.รถยนต์มีปริมาณมากถึง 5 ล้านคัน

2. ถนนรองรับรถยนต์ได้เพียง 6% ของพื้นที่เมือง ซึ่งมาตรฐานต้องมีมากกว่า 15 % และ

3. ระบบขนส่งมวลชนไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากร ดังนั้นกรุงเทพฯ จึงเกิดปัญหาการจราจรขึ้นและจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นเหตุให้เพิ่มการจราจรติดขัด เพิ่มเวลาเดินทาง และเพิ่มความล่าช้าในการเดินทาง อันทำให้ค่าบริหารจัดการจราจรเพิ่มขึ้น ประเทศไทยต้องการ ITS ที่เหมาะกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจของเราเอง การนำ ITS เข้ามาปรับใช้ต้องวางแผนแม่บทในอนาคตและพร้อมที่จะสร้างมาตรฐานหรือการบังคับใช้จากภาครัฐ

การแก้ปัญหามลภาวะและประหยัดพลังงาน

                               ควันพิษจากรถยนต์ และการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก ย่อมจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการเดินทาง ข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงานปี 2547 ระบุว่ามีการจำหน่ายน้ำมันออกเทน-91 ถึง 4,631 ล้านลิตร น้ำมันดีเซล 19,535 ล้านลิตร และรวมน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท 30,763 ล้านลิตร ดังนั้นการพัฒนา ITS ที่ช่วยให้การจราจรคล่องตัวหรือให้ผู้ใช้เลือกเส้นทางอย่างฉลาดจะช่วยประหยัดพลังงานและลดมลพิษลงได้ แม้จะไม่ใช่ผลลัพธ์โดยตรงแต่ถ้าลดการใช้น้ำมันได้เพียง 1 % ก็นับเป็นปริมาณถึง 3 ร้อยล้านลิตรต่อปี

การดูแลความปลอดภัย

                                ผลกระทบจากอุบัติการณ์จราจร ต่อการจราจรติดขัดและการติดขัดจนเป็นวงแหวนมีมากขึ้น เนื่องจากปริมาณจราจรเพิ่มขึ้นจนเต็มความจุของโครงข่ายถนน ความต้องการด้านความปลอดภัยในการจราจร มีมากขึ้นจากค่าใช้จ่ายทางด้านสังคมและเศรษฐกิจเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เพิ่มขึ้น และความต้องการด้านความปลอดภัยต่อสาธารณชนที่มากขึ้น ในหลายประเทศได้นำ IT เข้ามาแก้ปัญหาและอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยของการจราจรและขนส่ง ITS เช่นป้ายสลับข้อความที่แจ้งเตือนให้ระวังอุบัติเหตุข้างหน้าหรือให้หลีกเลี่ยงเส้นทาง

การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง

                                 การขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ การค้าและอุตสาหกรรมเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก การจะรักษาสภาพการแข่งขันให้ได้ จำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง ดังนั้น ความต้องการในการเพิ่มผลผลิต เวลาที่แน่นอนในการขนส่งสินค้า และการติดต่อประสานงานที่ดี ย่อมต้องมีกฎระเบียบที่เหมาะสมสำหรับรถขนส่งสินค้ามาควบคุมจากข้อมูลของกทม. ปี 2546 มีปริมาณการเดินทางในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลถึงวันละ 16 ล้านเที่ยว และในปี 2547 มีรถและจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 6,982 คัน ปัญหาจราจรจึงถูกจัดให้เป็นปัญหาอันดับ 1 ของคนเมือง การขนส่งอย่างยั่งยืน จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการจัดการกับความต้องการเดินทางที่เพิ่มขึ้น โดยเสนอทางเลือกในรูปแบบอื่นที่มีประสิทธิภาพ เช่น ระบบขนส่งสาธารณะ ยานพาหนะที่มีความจุสูง นโยบายเก็บค่าผ่านทาง ค่าจอดรถ เป็นต้น ในประเทศไทยเริ่มมีการนำ ITS เข้ามาใช้แต่ไม่เชื่อมโยงกันในแต่ละหน่วยงาน โดยภาครัฐเน้นการควบคุมและรายงานสภาพจราจร และภาคเอกชนส่วนใหญ่นำมาใช้ในอุปกรณ์นำทางในรถเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางและขนส่ง ITS เป็นระบบขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานโดยเฉพาะเจ้าของพื้นที่

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงงานภาครัฐสู่ภาคเอกชน

2. เพื่อสนับสนุนงานด้าน Computer HW/SW และ Telecommunication แก่โครงการ ITS ของหน่วยงานต่างๆ

3. เพื่อสนับสนุนงานวิจัยแก่ภาคการศึกษาและเพิ่มขีดความสามารถแก่บุคลากร

4. เพื่อร่วมบริหารจัดการข้อมูล ITS จากหลายหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

5. พัฒนาองค์ความรู้และ Core technology ของ ITS เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

                               การพัฒนาเทคโนโลยี นับเป็นความก้าวหน้าของมนุษย์ในการนำเอาความรู้ในหลายๆ ด้าน มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทาง ก็เป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่งของการใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะศาสตร์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อช่วยให้ประชาชนและสังคม สามารถเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบของ ITS

                               ITS ไม่ใช่ชื่อของเทคโนโลยีโดยตรงแต่เป็นชื่อที่ใช้เรียกแนวคิดของการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และโทรคมนาคม มาใช้ปรับปรุงการขนส่งและการจราจร โดยมีหัวใจหลักสำคัญคือการประมวลผลข้อมูลและข้อสนเทศที่มีอยู่ผ่านระบบสารสนเทศและการสื่อสาร และนำมาเผยแพร่ แลกเปลี่ยน ระหว่างผู้ใช้และผู้ให้บริการ

                                ส่วนระบบอัจฉริยะ นั้นเป็นการใช้คำเชิงเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีที่มีมาก่อนหน้า ยกตัวอย่าง เช่น หากรถยนต์มีอุปกรณ์ ที่สามารถสื่อสารและรับข้อมูลปริมาณการจราจรเพื่อวิเคราะห์และให้คำแนะนำแก่ผู้ขับขี่ได้ว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่เหมาะสมสำหรับเวลานั้น ต่างจากเดิมที่ผู้ขับจะต้องตัดสินเอง โดยไม่มีข้อมูลหรือคำแนะนำใดๆ มาช่วยตัดสินใจเลย ความสามารถของระบบ ที่เพิ่มขึ้นนี้ถือได้ว่า มีความอัจฉริยะ ความอัจฉริยะของยานพาหนะและระบบขนส่งที่กล่าวมานั้นอาจก้าวหน้าถึงขั้นเข้ามาทำหน้าที่แทนมนุษย์ เช่น รถยนต์สามารถขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติและติดต่อสื่อสารระหว่างรถยนต์กันได้เอง ตลอดจนติดต่อสื่อสารกับศูนย์ข้อมูลจราจรเพื่อสอบถามข้อมูล ปริมาณการจราจร จุดเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน หรือจุดที่มีการก่อสร้าง เพื่อวิเคราะห์และเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง รวมถึงรายงานสภาพการณ์บนท้องถนน การติดตามรถ หรือระบบจัดเก็บค่าผ่านทางโดยอัตโนมัติ

                              ITS เน้นไปที่การขนส่งและจราจรบนถนนเป็นหลักเนื่องจากเป็นประเภทการเดินทางที่เกิดขึ้นมากที่สุด และยังกระทบกับประชาชนจำนวนมาก โดยได้นำเอาการแบ่งประเภทของการนำเอา ITS มาใช้ในงานด้านขนส่งและจราจรของประเทศญี่ปุ่นมาดัดแปลง โดยแบ่งออกเป็น 8 ตัวอย่างดังต่อนี้

1. ระบบนำทางขั้นก้าวหน้า (Advances in Navigation Systems)

                               ระบบนี้จะช่วยให้ผู้ขับขี่ มีความสะดวกสบายในการเดินทาง เพราะผู้ขับขี่สามารถทราบข้อมูลในรูปของเส้นทางบนแผนที่ ซึ่งจะแสดงเส้นทางจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดปลายทาง เช่น ข้อมูลสถานที่จอดรถ ที่พักอาศัย เส้นทางที่มีการก่อสร้าง รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับจุดหมายปลายทาง นอกจากการแสดงแผนที่แล้ว ระบบนำทางดังกล่าว ยังสามารถพัฒนาให้แนะนำเส้นทางการขับขี่อย่างละเอียดโดยมีคำแนะนำเป็นเสียงพูด เช่น เตือนให้เปลี่ยนเลนเพื่อเตรียมเลี้ยวซ้ายหรือขวา เตือนให้เตรียมตัวกลับรถ การบอกทางเพื่อให้กลับสู่เส้นทางเดิมกรณีขับขี่ผิดทาง  การพัฒนาขั้นต่อไปของระบบนี้ อาจถึงขั้นแนะนำข้อมูลประกอบการขับขี่อื่นๆ เช่น เสียงเตือนให้ลดอัตราเร็วเนื่องจากข้างหน้าเป็นทางโค้ง และอนาคตอาจสามารถเชื่อมต่อข้อมูลการจราจรกับศูนย์ข้อมูลจราจร จนทำให้ระบบสามารถทำงานได้หลากหลาย คือ  แนะนำเส้นทางที่มีการจราจรเบาบางได้ หรือแนะแนะให้หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่นโดยที่ผู้ขับขี่ยังไม่ได้เดินทางไปถึงบริเวณดังกล่าว ให้ข้อมูลเส้นทางที่มีการก่อสร้าง ปิดถนน หรืออุบัติเหตุให้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดสนใจหรือสถานที่แวะพักต่างๆ เช่น ปั๊มน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ที่จอดรถ คำนวณระยะเวลาเดินทางที่สอดคล้องตามสภาพการจราจร จะเห็นได้ว่าการแนะนำ เส้นทางจะมิได้อยู่บนพื้นฐานเส้นทางที่มีระยะทางสั้นที่สุดเพียงเงื่อนไขเดียว แต่จะเป็นการรวมเอาเงื่อนไขต่างๆ เข้ามาคำนวณร่วมด้วย เพื่อให้ได้เส้นทางที่ใกล้กับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด และระบบยังสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่น่าสนใจรอบข้างทางและ   จุดหมายปลายทาง รวมทั้งแนะนำให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่จอดรถเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ขับขี่อีกด้วย

2.ระบบเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Toll Collection)

                                   ระบบนี้จะช่วยผู้เดินทางไม่ต้องหยุดรถหรือชะลอรถเพื่อจ่ายค่าผ่านทาง ช่วยลดระยะเวลาและแก้ปัญหาจราจรที่ด่านเก็บเงิน  และช่วยอำนวยความสะดวกในการผ่าน เข้าออกพื้นที่ควบคุม  หรือเส้นทางพิเศษบางประเภท เพื่อให้การผ่านเข้าออกสามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว หลักการทำงานของระบบนี้คืออุปกรณ์ที่ติดกับ ตัวรถจะสื่อสารกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ติดอยู่ที่ด่านหรือจุดเฉพาะสำหรับตรวจสอบการเข้าออกพื้นที่ควบคุมหรือเส้นทางพิเศษ  การสื่อสารจะทำโดยอาศัยเทคนิคการสื่อสารแบบไร้สาย และรถยนต์สามารถวิ่งผ่านไปมาได้โดยไม่ต้องหยุดจอดรอเพื่อชำระค่าผ่านทาง การชำระเงินอาจเป็นลักษณะซื้อบัตรและชำระล่วงหน้า แล้วทำการตัดค่าผ่านทางจากยอดเงินที่มีในบัตร หรืออาจเป็นการตัดค่าผ่านทางจากระบบบัตรเครดิต บัญชีธนาคาร หรือชำระตามร้านสะดวกซื้อ ตัวอย่างของประเทศที่ใช้ระบบนี้ เช่น ที่เมืองลอนดอนในประเทศอังกฤษซึ่งมีปริมาณการจราจรหนาแน่นมาก ได้มีการกำหนดให้เรียกเก็บค่าเข้าพื้นที่สำหรับผู้ที่ต้องการนำรถยนต์เข้าในบริเวณพื้นที่เมืองชั้นใน ทั้งนี้เพื่อลดความคับคั่งของปริมาณจราจรตลอดจนมลภาวะลงหรือในประเทศออสเตรเลียและจีน ได้มีการติดตั้งระบบเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ไว้ที่ด่านเก็บค่าผ่านทางของทางด่วน ทำให้รถยนต์ที่วิ่งผ่านสามารถวิ่งผ่านด้วยความเร็วสูง และการใช้ทางด่วนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.  ระบบช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่ (Assistance for Safe Driving)

                              เป็นระบบที่มีการติดตั้งตัวเก็บข้อมูลในบริเวณต่างๆ บนท้องถนนโดยการรวบรวมข้อมูลของตำแหน่ง และการเคลื่อนที่ของยานพาหนะในบริเวณรอบๆ รวมไปถึงสิ่งกีดขวางต่างๆ ที่อยู่ข้างหน้า โดยผ่านเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งอยู่บนถนนและที่ตัวรถ หลังจากนั้นข้อมูลจะถูกจัดส่งให้กับผู้ขับขี่รถแต่ละคนในขณะนั้นแบบ Real Time ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ขับขี่เดินทางได้อย่างปลอดภัย ระบบดังกล่าว นอกจากจะช่วยให้ผู้ขับขี่ได้รับข้อมูลหรือการแจ้งเตือนล่วงหน้าเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่แล้ว ยังนำมาใช้เพื่อรักษาชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่นด้วย เช่น การมีเซ็นเซอร์ตรวจจับคนข้ามถนน ในบริเวณทางโค้งหักศอกที่เป็นมุมอับสายตาสำหรับผู้ขับขี่ หรือตรวจจับและระวังการวิ่งตัดหน้ารถโดยเด็กเล็กหรือผู้ที่ขาดความระมัดระวัง นอกจากนี้ยังสามารถตรวจจับรถยนต์หรือจักรยานยนต์ที่วิ่งหรือกำลังจะวิ่งมาตัดหน้า ตรวจจับสภาพอากาศและสภาพถนน  เพื่อเตือนในกรณีที่ถนนลื่น หรือทัศนวิสัยไม่ดีก่อนที่จะขับขี่ไปถึงบริเวณดังกล่าว ในอนาคตอันใกล้อาจมีอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในรถเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการควบคุมรถ เช่น ระบบช่วยเบรคหรือควบคุมพวงมาลัยแบบอัตโนมัติ เมื่อพบสิ่งกีดขวาง และเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งอยู่ใน ตัวรถยนต์ ก็สามารถส่งข้อมูลและติดต่อสื่อสารกับรถยนต์คันอื่นๆ หรือกับเซ็นเซอร์ข้างถนนได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อเตือนให้รถยนต์หรือผู้ใช้ทางเท้าได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือเพื่อให้เกิดความระมัดระวังเพิ่มขึ้น

4.  ระบบการบริหารจัดการจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ (Optimization of Traffic Management)

                               ระบบนี้จะจัดการการจราจรบริเวณทางแยก หรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ โดยผู้ให้บริการแจ้งเหตุการณ์ เช่น การตรวจจับ อุบัติเหตุ และให้ข้อมูลการควบคุม การจราจร นอกจากนี้ยังแนะนำเส้นทาง แก่ผู้ขับขี่ผ่านมอนิเตอร์ที่ติดตั้งในรถ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมการจราจร ไม่เพียงแต่ ในพื้นที่ ที่มีการจราจรที่ติดขัดเท่านั้นแต่รวมถึงเส้นทางการจราจรทั้งหมด ได้มีการคาดการณ์กันว่า เมื่อการเชื่อมต่อและสื่อสารแบบ สองทาง ระหว่างผู้เดินทางและศูนย์บริหารจัดการจราจรเกิดขึ้นในวงกว้างแล้ว จะสามารถสื่อสารกันแบบสองทางได้อย่างสะดวก ทั้งในรถยนต์ ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่นโทรศัพท์มือถือ โดยศูนย์บริหารจัดการจราจรจะนำเอาข้อมูลความต้องการเดินทางของผู้เดินทางมาคำนวณวิเคราะห์เพื่อการกระจายปริมาณการจราจรออกไป เพื่อให้ระบบขนส่งโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะเป็นการแนะนำเส้นทางที่ไม่ใช่การแนะนำให้ทุกคนเลือกใช้เส้นทางที่เบาบางในขณะนั้นเหมือนกันหมด นอกจากนี้ยังสามารถแนะนำให้หลีกเลี่ยงเส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุ มีการก่อสร้าง หรือมีการปิดถนนได้ด้วย

5.  การสนับสนุนระบบขนส่งมวลชนหรือขนส่งสาธารณะ (Support for Public Transport)

                               เป็นการอำนวยความสะดวกสบายให้ผู้ใช้บริการระบบขนส่งมวลชน ให้เกิดความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนถ่าย การเข้าและออกจากระบบขนส่งมวลชนตามเวลาที่สอดคล้องกัน ระบบสนับสนุนต่างๆ  จึงมีความจำเป็น เช่น สถานะการให้บริการของระบบขนส่งมวลชนประเภทต่างๆ ตำแหน่งและจำนวนที่นั่งว่าง ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และที่จอดรถ ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้สามารถส่งผ่านไปยังช่องทางต่างๆ หลายช่องทาง ได้แก่ ที่พักอาศัยและที่ทำงาน  อุปกรณ์ในรถยนต์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ ตลอดจนจุดติดตั้งข้างถนน ป้ายหยุดรถประจำทาง และสถานีขนส่ง เพื่อให้ผู้เดินทางสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและนำมาซึ่งการใช้งานระบบขนส่งมวลชนอย่างสะดวกและปลอดภัย

6. การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการเกี่ยวกับรถเพื่อการพาณิชย์ (Increasing Efficiency in Commercial Vehicles Operations)

                            เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการขนส่งสินค้า ต้องมีศูนย์รวบรวมและจัดเก็บสถานะการใช้งานรถขนส่งสินค้าทั้งหมด เช่น ตำแหน่งของรถขนส่งในระหว่างขนส่ง จุดแวะพักหรือขนถ่ายสินค้า จุดเริ่มต้นและจุดปลายทาง แล้วกระจายข้อมูลเหล่านี้ในฐานะข้อมูลพื้นฐานให้กับผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทุกราย นอกจากนี้ยังดำเนินการจัดหาระบบช่วยบริหารจัดการรถขนส่งสินค้าระหว่างผู้ประกอบการขนส่งหลายๆ ราย โดยมองว่ารถทั้งหมดเสมือนมีเจ้าของเดียวกัน และพยายามลดจำนวนเที่ยวรถเปล่าลง เพื่อให้เกิดการใช้รถขนส่งร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการขนส่งสินค้าอย่างเป็นระบบ และเป็นอัตโนมัติ ปัจจุบันยังได้มีความพยายามค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ขบวนรถขนส่งสามารถวิ่งตามกันไปโดยอัตโนมัติโดยมีผู้ขับขี่เพียงคนเดียวที่รถต้นขบวน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งลงไปอีก

7. ระบบสนับสนุนผู้ใช้ทางเท้า  (Support for Pedestrians)

                                 ผู้ใช้อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับรถและถนนก็คือผู้ใช้ทางเท้า    ผู้ใช้ทางเท้าในที่นี้หมายความรวมถึงผู้ใช้ทางเท้าทั่วไป คนชรา ผู้ทุพพลภาพ และผู้ใช้จักรยาน จุดประสงค์คือทำให้เกิดความสะดวกสบาย ปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับผู้ใช้ทางเท้า ตัวอย่างเทคโนโลยีที่สามารถช่วยเหลือผู้ใช้ทางเท้าได้ เช่น อุปกรณ์นำทางแบบพกพา เซ็นเซอร์สำหรับตรวจจับและรายงานชื่อสถานที่หรือนำทางด้วยเสียงสำหรับคนตาบอด เซ็นเซอร์ตรวจจับคนข้ามถนนเพื่อส่งข้อมูลเตือนแก่ผู้ขับขี่ให้ระมัดระวังและ/หรือควบคุมให้รถหยุดแบบอัตโนมัติ สัญญาณไฟสำหรับคนข้ามถนนที่สามารถปรับเปลี่ยน ช่วงเวลาให้เหมาะสมกับจำนวนและประเภทของคนข้ามได้

8. ระบบสนับสนุนสำหรับการทำงานของยานพาหนะในเหตุฉุกเฉิน (Support for Emergency Vehicle Operations)

                               เพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉินและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติหรืออุบัติเหตุบนท้องถนน ได้รวดเร็วทันการและเหมาะสม รถที่ประสบเหตุจะมีอุปกรณ์ติดในรถ ที่สามารถแจ้งเหตุและสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบในการเตรียมการ เช่น ระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุ ลักษณะของอุบัติเหตุ จำนวนผู้โดยสารในรถ จำนวนรถที่เกิดเหตุ ตลอดจนตำแหน่งของรถที่เกิดเหตุขณะนั้น   ระบบนี้อาจก้าวหน้าไปถึงขั้นให้ข้อมูลทางกายภาพของผู้โดยสารและผู้ขับขี่ด้วย เช่น เพศ/วัย ลักษณะการบาดเจ็บ บริเวณกระดูกที่หัก การเสียเลือด การหมดสติ เป็นต้น ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ให้ความช่วยเหลือสามารถวินิจฉัยได้   ล่วงหน้าหรือระหว่างเดินทางไปยังที่เกิดเหตุ เพื่อลดระยะเวลาที่ต้องใช้ก่อนเข้าถึงและเริ่มดำเนินการช่วยเหลือ หลังจากนั้นข้อมูลสภาพจราจรและสภาพความเสียหายของถนน(กรณีเกิดภัยพิบัติ)  ยังถูกรวบรวมและวิเคราะห์แบบตามเวลาจริงเพื่อส่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบใช้วางแผนและสามารถเดินทางเข้าสู่พื้นที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว ระบบดังกล่าวยังอาจทำงานร่วมกับศูนย์บริหารจัดการจราจร  เพื่อให้ช่วยจัดการสัญญาณไฟจราจรหรืออำนวยเส้นทางสำหรับรถฉุกเฉินต่างๆ ได้ด้วย

                                การพัฒนาระบบ ITS จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันในแต่ประเทศ ขึ้นอยู่กับวิธีการพัฒนาและการจัดการขนส่งและการจราจรของแต่ละประเทศ ซึ่งทำได้ หลายแนวทาง หลายรูปแบบ และแตกต่างกันไป สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีแนวคิดที่จะนำ ITS เข้ามาใช้ โดยความร่วมมือจากภาครัฐและคณะกรรมการจัดการระบบ ITS ของไทย ได้กำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาระบบ ITS เช่น การจัดทำระบบรายงานจราจรแบบตามเวลาจริง (Real-time) การติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล การจัดตั้งศูนย์ให้บริการข้อมูลจราจร  รวมถึงแผนการติดตั้งระบบถ่ายภาพผู้ฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดงบริเวณทางแยก โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดเข้าสู่เครือข่ายต่างๆ และเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อการประสานงาน และการติดต่อด้วย ข้อมูลที่ทันสมัย ซึ่งในหลายหน่วยงานก็มี

                               ด้วยความสำคัญของระบบ ITS กระทรวงคมนาคมได้กำหนดเป็นแผนแม่บทการพัฒนาระบบการขนส่งและจราจรอัจฉริยะ พ.ศ. 2549-2558 เป้าหมายระยะแรกเลือกเน้นการวิจัยและพัฒนาด้านการให้ข้อมูลแก่ผู้เดินทาง เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร และเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้ถนน โดยเนคเทค ได้เปิดตัวผลงานการวิจัยและ พัฒนาด้านเทคโนโลยี ITS กันอย่างต่อเนื่อง เช่นป้ายทะเบียนรถอัจฉริยะพูดได้ ระบบอาร์เอฟไอดีสำหรับติดรถเมล์ ซึ่งใช้ในการเก็บข้อมูล อุปกรณ์ จี-บ็อกซ์ ที่คล้ายกับเทรคกิ้งรถยนต์ มีจีพีเอส สื่อสาร 2 ทาง ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของบริษัทที่เกี่ยวกับการใช้รถยนต์เอ็นจีวี เพื่อศึกษาพฤติกรรมของการขับที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน รวมถึงเทคโนโลยีเซ็นเซอร์เบรก อัตโนมัติ ที่อนาคตตั้งเป้าไว้ถึงขั้นให้รถยนต์ติดต่อสื่อสารกันเอง โดยคนขับไม่ต้องยุ่ง

                                ภายใต้โปรแกรมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้กำหนดนโยบายในการให้ทุนสนับสนุนการวิจัย  โดยเริ่มตั้งแต่  ปี พ.ศ. 2547 และได้กำหนดเป็นกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ได้แก่ Smart sensing, Communications  Information, Platform Safety  ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมานี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร โดยจัดตั้งกลุ่ม Thailand ITS Forum ขึ้น เพื่อเชื่อมโยงทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง( Stakeholders) ภายในประเทศ ได้แก่ ผู้เดินทาง ผู้จัดหาและควบคุมระบบ  ชุมชน หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้เกิดการนำข้อมูลและเทคโนโลยีที่มีอยู่ในประเทศมาใช้งานด้านการจราจรและระบบขนส่ง เช่น ระบบประมวลสภาพจราจรจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)  ระบบนี้จะรายงานข้อมูลสภาพการจราจร โดยนำซอฟต์แวร์และอุปกรณ์มาใช้ประมวลผลภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว  เพื่อให้ได้อัตราเร็ว จำนวน และประเภทรถ พร้อมทั้งรายงานสถิติที่เกี่ยวข้องกับจราจรทั้งสภาพปัจจุบันและย้อนหลัง โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

                               นอกจากนี้ยังมีระบบอื่นๆ ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งาน ได้แก่ เครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับตรวจนับรถยนต์  ระบบนับสัญญาณเวลาไฟ  ระบบกระจายข้อมูลสภาพการจราจรแบบ Real-time แลโปรแกรมรู้จำป้ายทะเบียนรถ ระบบต่างๆเหล่านี้ ล้วนสามารถเชื่อมโยงและพัฒนาให้สามารถทำงานได้ โดยซอฟต์แวร์ประมวลผลและรายงานผล ที่ต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ จากหลายหน่วยงานมาใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบอัจฉริยะสำหรับการเดินทางที่เกิดขึ้นในอนาคต

**Reference** http://service.nectec.or.th

เครือข่ายสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงผ่านดาวเทียมระบบ iPSTAR

                              โครงการดาวเทียม iPSTAR หรือ โครงการ Broadband Satellite เป็นโครงการที่บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด ( มหาชน) ได้เริ่มคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีของไอพีสตาร์มาตั้งแต่ 2540 เพื่อรองรับการใช้งานด้านบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมโดยตรง ซึ่งเทคโนโลยีของไอพีสตาร์ จัดเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมที่ก้าวหน้ามากที่สุดในโลก และบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด ( มหาชน) ได้ทำการจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีไอพีสตาร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดาวเทียม iPSTAR มีกำหนดการเริ่มให้บริการประมาณต้นปี 2547 และมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทวีปเอเชีย และออสเตรเลีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีแนวโน้มกาขยายตัวทางด้านโทรคมนาคมอย่างรวดเร็ว และเป็นตลาดเป้าหมายที่สำคัญของโครงการ iPSTAR Broadband Satellite

 IPSTAR คืออะไร

                              IPSTAR เป็นบริการ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผ่านทางช่องสัญญาณ ดาวเทียม แบบ สองทาง (Two-ways Broadband Internet) ซึ่งมีการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา (Always on) ทั้งนี้ในส่วนของชุดอุปกรณ์ Terminal ได้ถูกออกเแบบมาพิเศษ ให้สามารถ ใช้งาน ได้กับดาวเทียมหลายประเภท ทั้งนี้ไม่ได้ผูกติด ว่าจะต้องนำมา ใช้งานกับดาวเทียม IPSTAR เท่านั้น ในการเปิดให้บริการ IPSTAR ในประเทศไทย จะดำเนินการ ผ่านทางช่องทางการจัดจำหน่ายของผู้ให้บริการทางอินเตอร์เนต เพื่อรองรับความต้องการ ในการบริการ อินเทอร์เน็ต ที่หลากหลาย ด้วยคุณสมบัติของเทคโนโลยีดาวเทียม จะทำให้บริการ IPSTAR สามารถเปิดให้บริการ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet) ได้ทั่วประเทศ สามารถติดตั้งได้รวดเร็ว และสะดวกในการใช้งาน

 ลักษณะการทำงานของ IPSTAR

                                ลักษณะการให้บริการของ IPSTAR จะมีลักษณะการทำงาน คล้ายคลึง กับการ เชื่อมต่อ ใช้งานอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อสัญญาณ ประเภทอื่น เพียงผู้ใช้บริการทำการติดตั้งชุดอุปกรณ์ IPSTAR Terminal และทำการ เชื่อมเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลตรง ระหว่างอุปกรณ์ปลายทาง และระบบเครือข่าย หลักของ ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เนตไม่ว่าชุดอุปกรณ์จะอยู่ ณ จังหวัดใด

                                ด้วยการออกแบบระบบที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับระบบการบริหารช่องสัญญาณ จึงทำให้สามารถนำบริการ IPSTAR มาประยุกต์ และใช้งาน ควบคู่กับ Application ต่างๆ หรือลักษณะการใช้งานที่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งในลักษณะ การ ใช้งาน ในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีจำนวนผู้ใช้งาน และความต้องการในช่องสัญญาณขนาดใหญ่ องค์กรขนาดกลางที่มีการใช้งานในระดับปกติ หรือองค์กรขนาดเล็ก (SME) ที่มีความต้องการ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เฉพาะในบางช่วงเวลา จากรูปภาพแสดงการทำงาน ของระบบ จะเห็นได้ว่าบริการ IPSTAR มีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูงในการที่จะนำประยุกต์ ใช้ในธุรกิจต่างๆ

                               ไอพีสตาร์ได้รับการออกแบบ ให้มีระบบรับ-ส่งสัญญาณความเร็วสูง ที่มีสมรรถภาพและเสถียรภาพเป็นเลิศ พร้อมระบบบริหาร ช่องสัญญาณอันทรงประสิทธิภาพ จึงทำให้สามารถนำบริการไอพีสตาร์ มาประยุกต์ใช้งานควบคู่กับการประยุกต์ใช้งานต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย อาทิ เช่น การรับ-ส่งข้อมูลขนาดใหญ่, การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านทางอินเตอร์เน็ต , การประยุกต์ใช้งานด้านเสียง (Voice Service), การแพร่สัญญาณภาพ และเสียงสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตภายในองค์กร (Broadcasting), การสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ภายในอาคารสำนักงานหรืออาคารที่พักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และต้องการใช้ช่องสัญญาณขนาดใหญ่ , องค์กรขนาดกลางที่มีการใช้งานในระดับปกติ หรือองค์กรขนาดเล็ก (SME) ที่ต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเฉพาะในบางช่วงเวลา

 รูปแบบของบริการ IPSTAR แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

1. STAR LINK (Corporate FIX Bandwidth)

2. STAR EXPRESS (Broadband Access for Home SME)

–    IP STAR HOME

–    IP STAR SME

–   IP STAR COPORATE

IPSTAR LINK

                               ลักษณะการทำงาน (Corporate Internet Access) เป็นการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบเดียวกันกับการเชื่อมต่อผ่านสื่อ แบบคู่สายเช่า (Leased Line) แต่เปลี่ยนมาใช้สื่อเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์และช่องสัญญาณดาวเทียมแทน และใช้บริการที่คุณภาพใกล้เคียงกัน ซึ่งถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ห่างไกลหรือบริการแบบคู่สายเช่าไปไม่ถึง สามารถขอใช้บริการ ได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ  

ข้อดีของบริการ
–     สามารถได้รับบริการอินเทอร์เน็ตเต็มประสิทธิภาพ

–      พื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ

 –      ติดตั้งได้สะดวก และรวดเร็ว  

กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มลูกค้าองค์กรที่มีความต้องการในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในปริมาณสูง  

 

                                   

STAR EXPRESS (Broadband Access for SME)

                               ลักษณะการทำงานเป็นการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผ่านทางเครือข่ายดาวเทียม โดยรูปแบบบริการถูกออกแบบมาเพื่อให้บริการในลักษณะของ* Shared Bandwidth* ด้วยการออกแบบระบบการให้บริการในลักษณะของการบริหารช่องสัญญาณ ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเป็นอัตราส่วนการ Shared Bandwidth ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าเป้าหมาย ด้วยบริการในรูปแบบนี้ผู้ใช้บริการสามารถได้ใช้บริการในระดับความเร็วที่สูงสุด ตั้งแต่ 256-2048 Kbps. (Best Effort) ในกรณีที่ช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้เข้ามาใช้งานน้อย ถึงปานกลาง

 ข้อดีของบริการ

– สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ต ได้สูงสุด 2 MB (Best Effort) ภายใต้ระบบ การบริหารช่องสัญญาณ ที่มีประสิทธิภาพ

– พื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ

– ติดตั้งได้สะดวกและรวดเร็ว

– สามารถเลือกระดับอัตราความเร็วได้ตั้งแต่ 256/128 Kbps ถึง 1024/512 Kbps.

กลุ่มเป้าหมาย  : เหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ขนาดเล็ก หรือหน่วยงานที่มีความต้องการในการ ใช้อินเทอร์เน็ต ในระดับน้อย

รูปแบบการเชื่อมต่อ STAR EXPRESS   (Broadband Internet Access)

                             ข้อควรทราบ : บริการ STAR Express เป็นบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมที่ถูกออกแบบมา ให้มีขนาด ของช่องสัญญาณ ในขารับ มากกว่าขนาดของช่องสัญญาณในขาส่ง และเป็นรูปแบบบริการแบบ Shared Bandwidth   จึงทำให้ไม่เหมาะ กับการใช้งานบางประเภท อาทิเช่น การติดตั้ง Web Server, Mail Server ที่เน้นการส่งออกมากกว่ารับ หรือโปรแกรม ประเภทต่างๆ ที่จะต้องมีการส่งข้อมูลออกไปจำนวนมาก ๆ และต่อเนื่อง อาทิเช่น CCTV, VDO Conference , Streaming Server (VDO and Audio) , etc.  เพราะการใช้งานในรูปแบบดังกล่าว จะมีผลกระทบ ต่อความเร็ว ในการ ใช้งานอินเทอร์เน็ตของท่านเอง

ลักษณะรูปแบบของการใช้งานบน Application ผ่านไอพีสตาร์

1. เครือข่ายเสมือนเฉพาะภายในองค์กร Virtual Private Network (VPN)

                              เครือข่ายเสมือนเฉพาะภายในองค์กร Virtual Private Network (VPN) ไอพีสตาร์ สามารถสร้างเครือข่ายเสมือนเฉพาะภายในองค์กรที่เรียกว่า VPN เพื่อเป็นการเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ปลายทาง (Terminal) ต่างๆ กับภายในเครือข่ายขององค์กรหรือระหว่างสาขา โดยผ่านอินเตอร์เน็ต บนเครือข่ายไอพีสตาร์ ที่สามารถสร้างช่องทางพิเศษ สำหรับการสื่อสารภายในเครือข่ายขององค์กร เสมือนการมีเครือข่ายส่วนตัวโดยไม่ต้องเช่าคู่สาย และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการเช่าวงจรได้เป็นอย่างมาก และเครือข่ายยังมีความสามารถสูง สำหรับนำมาประยุกต์การใช้งานประเภทนี้ จึงเหมาะสำหรับองค์กร ที่ต้องการ เครือข่ายส่วนตัวที่มีความปลอดภัยของข้อมูล โดยการเข้ารหัส (Encoder) หรือการใช้งานบน Protocol (IP) Platform การนำ IPSTAR ไปประยุกต์ใช้งานกับ VPN นี้ ทำให้องค์กรสามารถนำช่องสัญญาณที่เปิดใช้งานนำมาใช้บริการแบบ Star Net ที่ ซีเอส ล็อกซอินโฟ ให้บริการไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัด ค่าใช้จ่ายให้แก่องค์กรเป็นอย่างมาก

                                เนื่องจากไอพีสตาร์ สามารถออกแบบและนำเอาช่องสัญญาณรวมมาจัดสรรให้เหมาะสมกับการความต้องการใช้งานจริงของทั้งองค์กรได้ โดยแต่ละสาขาที่ทำการเชื่อมต่อกับสำนักงานใหญ่สามรถ Login เข้าไปใช้ช่องสัญญาณได้เมื่อมีความต้องการใช้งาน หากสาขากใดยังไม่จำเป็นต้องใช้งาน ณ เวลานั้น ช่องสัญญาณดาวเทียมสามารถสำรองไว้ให้สาขาอื่นๆ เข้ามาใช้งานได้ ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับองค์กรขนาดใหญ่

ไอพีสตาร์สามารถรองรับ การใช้งาน VPN ในรูปแบบต่างๆ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่

  1. Access VPN สำหรับพนักงานภายในองค์กรที่ทำงานนอกสถานที่ให้สามารถเข้าถึงเครือข่าย องค์กรเพื่อใช้งานได้เสมือนอยู่ภายในสำนักงาน
  2. Intranet VPN สำหรับการสื่อสารและการใช้ข้อมูลกลางร่วมกันระหว่างสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาต่างๆ เสมือนเครือข่ายร่วมกันในองค์กร
  3. Extranet VPN สำหรับการสื่อสารระหว่างองค์กรกับบุคคลอื่นภายนอกองค์กร ซึ่งอาจเป็นผู้จำหน่ายสินค้า และบริการ (Supplier) พันธมิตรทางธุรกิจ หรือกลุ่มลูกค้าขององค์กรก็ได้

จุดเด่นของ ไอพีสตาร์ สำหรับเครือข่ายเสมือนเฉพาะภายในองค์กร

–   การทำเครือข่ายส่วนตัวบนไอพีสตาร์ ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้งขององค์กร หรือสาขาว่าจะต้องมีเครือข่ายสายเข้าไปถึง สามารถขยายเครือข่ายสาขาจาก LAN ในพื้นที่เล็กๆ เป็น WAN ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

–   ที่สำนักงานใหญ่ขององค์กร ควรมีวงจรเช่าต่อเข้าหา Gateway IPSTAR ผ่าน VPN-enabled router เพื่อรองรับการเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานสาขาที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล กับสำนักงานใหญ่ด้วยการเชื่อมต่อสัญญาณผ่านดาวเทียม ไอพีสตาร์ ในลักษณะการขึ้นลงเพียงครั้งเดียว

–     ช่องสัญญาณไอพีสตาร์ สามารถนำมาปรับเปลี่ยน และใช้งานร่วมกันตามความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นองค์กร จึงสามารถเช่าช่องสัญญาณเท่ากับปริมาณที่ใช้จริง เช่น เช่าช่องสัญญาณ 1 Mb. สำหรับการใช้งาน 20 สาขา ซึ่งแต่ละสาขาจะได้ความเร็วและคุณภาพตามที่ต้องการ

–   ไอพีสตาร์สามารถรองรับการใช้งานที่ต้องการช่องสัญญาณระบบ IPSTAR สามารถนำมาใช้ในการเชื่อมโยงสาขาต่าง ๆ ภายในเครือข่ายขององค์กร ไปยังศูนย์ กลางข้อมูลกับสำนักงานใหญ่ ผ่านสถานีเกตเวย์ของ IPSTAR ด้วยวงจรเช่าคู่สาย ( Leased Line) เชื่อมต่อมายัง ซีเอส ล็อกซอินโฟ ดังแสดงใน รูปข้างล่างนี้

 2.      การประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม IPSTAR fot Video Conferencing (VDC)

                              การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียม (Video Conference : VDC ) จัดเป็นการประยุกต์ใช้งานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการให้บริการบรอดแบรนด์ ระบบ ระบบ IPSTAR ยังสนับสนุนมาตรฐาน H.323 สำหรับ VDC อีกทั้งการควบคุม และจัดสรรช่องสัญญาณรวมตลอดจนความยืดหยุ่นและรวดเร็วในการปรับความเร็ว ตามความต้องการใช้งานของ ระบบ IPSTAR ทำให้การใช้งาน VDC จากเดิมที่เคยมีความยุ่งยากในการติดตั้งอุปกรณ์ และมีค่าบริการค่อนข้างแพง อีกทั้งความเร็วในการส่งข้อมูลถูกจำกัด เปลี่ยนมาเป็นความสะดวก รวดเร็ว ราคาถูก และสามารถประชุมทางไกลจาก ที่ใดก็ได้ ในลักษณะ Client/Server ผ่าน IP Network ของ IPSTAR นอกจากนี้ IPSTAR ยังมีจุดเด่นความสามารถด้าน Broadcast และ Multicast ทำให้สามารถแพร่ภาพและ ข้อมูลไปยังเครือข่ายหรือสาขา ที่มีจำนวนอุปกรณ์ปลายทางจำนวน มาก สามารถรับสัญญาณภาพพร้อมกันได้

จุดเด่นของการทำงาน VDC

–  ราคาประหยัด และถูกกว่าการให้บริการแบบอื่นๆ หากเปรียบเทียบกับ การใช้งานผ่านระบบอื่นๆ แบบเดิม อย่างมาก

–   การติดตั้งง่าย ต่อจุดติดตั้ง 1 จุด สามารถติดตั้งได้เสร็จภายใน 1 วัน

–    หากเป็นการให้บริการแบบ Multicast คุณภาพของสัญญาณ ข้อมูล ที่ได้รับทุกสาขาปลายทาง สามารถรับสัญญาณได้เหมือนกัน และคุณภาพเดียวกัน

–   ระบบ IPSTAR สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการร่วมกับการควบคุมการประชุมได้ เช่น การเพิ่ม/ลด จำนวนผู้เข้าประชุม , การแบ่งห้องประชุมออกเป็นหลายๆ ห้อง และใช้ไฟล์งานเข้าประชุมร่วมกันพร้อมๆ กัน

–     ไอพีสตาร์รองรับการใช้งาน Video Conference ในแบบแม่ข่าย / ลูกข่าย ( Client/Server ) ที่กำลังแพร่หลายได้  (รายละเอียดรูปภาพประกอบ)

 3. มัลติมีเดีย (Multimedia)

                               IPSTAR เป็นระบบเครือข่ายดาวเทียมที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานกับบริการบรอดแบนด์ความ เร็วสูงโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ใช้งานผ่านเครือข่าย IPSTAR สามารถเข้าสู่โลกของข้อมูลข่าวสาร การเรียนรู้ และความ บันเทิงต่างๆ แบบ Multimedia ได้อย่างรวดเร็วและไม่มีขีดจำกัดด้านความเร็วของสื่ออีกต่อไป อีกทั้งยังเป็นบริการ ที่มีการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา(Always on) และสามารถให้บริการบรอดแบนด์แบบ 2 ทาง บน Internet Protocol (IP) Platform เพื่อใช้ในการเข้าอินเตอร์เน็ตตามปกติ รวมถึงการใช้งานอื่นๆ บน IP Platform

จุดเด่นของการใช้งาน

  • ไอพีสตาร์เป็นระบบเครือข่ายดาวเทียมที่สามารถให้บริการบรอดแบนด์แบบ 2 ทาง บน Internet Protocol (IP) Platform เพื่อใช้ในการเข้าอินเทอร์เน็ตตามปกติ รวมถึงการใช้การประยุกต์ใช้งานอื่นๆ บน IP Platform
  • การต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต เป็นแบบ “Always on”
  • อุปกรณ์ปลายทางของไอพีสตาร์สามารถใช้ในการรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูงสุดถึง 8 Mbps ในด้านรับ และ 2.5 Mbps ในด้านส่ง
  • ไอพีสตาร์จึงสามารถรองรับการสื่อสารทั้งข้อมูล ภาพ และเสียงได้ โดยไม่ถูกจำกัดด้วยความคับคั่งของข่ายสายภาคพื้นดิน และยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่เครือข่าย IP จากที่ใดๆ ก็ได้ในกรณีที่ข่ายสายภาคพื้นดินยังไปไม่ถึง
  • ผู้ใช้สามารถใช้ไอพีสตาร์ร่วมกับการประยุกต์ใช้งานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ต (E-learning), การถ่ายทอดสด(Live Broadcast), การเลือกรับชมรายการวิดีทัศน์ตามความต้องการ(Video on Demand), การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียม(Video Conference), คอมพิวเตอร์เกมส์(Interactive Computer Games), การดาวน์โหลดข้อมูล และอื่นๆ
  • ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยอุปกรณ์ปลายทางของไอพีสตาร์สามารถกำหนดได้ สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน และเพื่อให้การใช้แบนด์วิดท์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ตัวอย่างรูปแบบการให้บริการของไอพีสตาร์

  วงจรเฉพาะ วงจรร่วม
รูปแบบการให้บริการ 128k 256k 512k บุคคลทั่วไป ธุรกิจร่วม
ประเภทของแบนด์วิดท์ แบนด์วิดท์คงที่ แบนด์วิดท์ร่วม
อัตราเร็วขารับ 128 kbps 256 kbps 512 kbps 1 Mbps 2 Mbps
อัตราเร็วขาส่ง 64 kbps 128 kbps 128 kbps 256 kbps 512 kbps
อัตราส่วนการใช้งานร่วมกัน 1:1 1:1 1:1 100:1 40:1

 ระบบ บริการIPSTAR ในประเทศไทย

                               เป็นโครงการ Sattellite Broadband Internet Access ของบริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)มีเป้าหมายที่จะสร้าง Platform Network สำหรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแก่ผู้ใช้บริการ  ในช่วง Last Mile (ตรงถึงบ้าน/สำนักงาน)
โครงการ IP Star แบ่งเป็น 2 ระยะ
  – ระยะที่ 1 ใช้ช่องสัญญาณย่าน Ku band บนดาวเทียมไทยคม 1และ 2 เปิดให้บริการ
                        ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2543
– ระยะที่ 2 จะเริ่มเปิดให้บริการหลังจากส่งดาวเทียม IP Star ขึ้นสู่วงโคจรประมาณ ต้นปี 2548

ขอบเขตของงานบริการในประเทศไทย
               ให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภูมิภาค โดยทำการติดตั้งทดสอบ และเชื่อมโยงระบบสื่อสัญญาณดาวเทียม IP Star กับเครือข่ายของผู้บริการอินเตอร์เนต เช่น Frame Relay และ Internet เป็นต้น การขยายตัวของบริการมีโอกาสเพิ่มสูง เนื่องจากการให้บริการไม่มีข้อจำกัดทางด้านระยะทางของพื้นที่ที่สามารถให้บริการได้ อีกประการหนึ่งคือโครงข่ายสื่อสัญญาณทางสายด้วยใยแก้วนำแสงหรือ สายทองแดง ยังขาดแคลนและไม่มีหน่วยงานใดในประเทศไทยจัดหาได้ครอบคลุมทั่วประเทศ และ เพียงพอที่จะรองรับได้ทันกับโครงการในปัจจุบันที่เกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลได้
          ภารกิจภายหลังจากการเปิดให้บริการคือ การบำรุงรักษาอุปกรณ์การแก้ไข และซ่อมบำรุงอุปกรณ์ การจัดหาอุปกรณ์เพื่อการสับเปลี่ยน ทดแทนกับอุปกรณ์ที่เสียเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และมีอุปกรณ์ที่เพียงพอต่อความต้องการใช้บริการของลูกค้า

 การใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับแหล่งธุรกิจ ที่ทำงาน และที่อยู่อาศัย

  • บริการของไอพีสตาร์เป็นเครือข่ายส่งตรงถึงผู้ใช้ปลายทาง (last-mile access) ซึ่งสนับสนุนการเชื่อมต่อกับระบบการเข้าถึงผู้ใช้งานรายบุคคล(last-inch) เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้อินเทอร์เน็ต
  • การใช้งานแบนด์วิดท์ของไอพีสตาร์จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้งานร่วมกันระหว่างผู้ใช้งานในกลุ่ม
  • ไอพีสตาร์ให้ความยืดหยุ่นในการใช้แบนด์วิดท์ ช่วยให้ผู้ใช้งานมีโอกาสเชื่อมต่ออินเทอร์ตามความต้องการของแต่ละบุคคล ด้วยอัตราเร็วที่สูงกว่าปกติได้ (Burstable Speed – On Demand)
  • ให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้ให้บริการ หรือ Service Provider ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตพร้อมบริการเสริม ในจุดให้บริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเขตสำนักงาน เขตที่พักอาศัย ย่านธุรกิจต่างๆ
  • ไอพีสตาร์ช่วยให้ผู้ใช้งานที่มีบริการโรมมิ่งอินเทอร์เน็ต สามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สำนักงาน และจุดที่เป็นแหล่งธุรกิจพาณิชย์ต่างๆ (Hotspots)

สัดส่วนทางการตลาดสำหรับการใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่มผู้ใช้งาน

  • MTU (Multi-Tenant Unit) หรือแหล่งที่ทำงาน เช่น อาคารสำนักงาน นิคมอุสาหกรรม
  • MDU (Multi-Dwelling Unit) หรือแหล่งที่อยู่อาศัย เช่น คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนท์
  • Hotspots หรือแหล่งธุรกิจพาณิชย์ เช่น สนามบิน โรงแรม ศูนย์การค้า โรงพยาบาล

การเข้าถึงผู้ใช้งานรายบุคคล แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

  • LAN: Category 5 cable: สำหรับอาคารที่มีการวางสาย LAN อยู่แล้ว (Broadband Ready)
  • สายโทรศัพท์ : สำหรับที่พักอาศัยหรืออาคารที่มีคู่สายโทรศัพท์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องวางสาย LAN ใหม่ ก็สามารถใช้โทรศัพท์พร้อมกับการเล่นอินเทอร์เน็ตได้ โดยอาศัยระบบที่ออกแบบมาช่วยในการเข้าถึงบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์ เช่น Mini DSLAM (Digital Subscriber Line Access Multiplexer), อุปกรณ์ HPNA (Home Phoneline Network Alliance)
  • ระบบไร้สาย : สำหรับการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตตามที่สาธารณะต่างๆ (Hotspots) เช่น สนามบิน ศูนย์การค้า โรงแรม หอพัก หรือแม้แต่อาคารสำนักงานที่มีการวางระบบ LAN อยู่แล้วโดยไม่ต้องมีการเดินสายเคเบิล โดยใช้เทคโนโลยีสำหรับ Wireless Access เช่น Standard Wireless LAN: IEEE 802.11a, 802.11b, Non-standard wireless LAN, Home RF, Bluetooth
  • สายไฟฟ้า : สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าภายในบ้านหรืออาคาร สามารถใช้กับการประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ระบบการอ่านมาตรวัดไฟฟ้าอัตโนมัติ(Automatic Meter Reading: AMR), บ้านอัจฉริยะ(Home Automation), เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ(Smart Appliances)
  • ระบบเคเบิลทีวีที่ใช้สาย coaxial: สำหรับโรงแรมหรืออาคารที่มีการเดินสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว

ระบบการเข้าถึงผู้ใช้รายบุคคล

  • บริการโรมมิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นการใช้งานร่วมกันระหว่างระบบไอพีสตาร์ซึ่งเป็นเครือข่ายส่งตรงถึงผู้ใช้ปลายทาง ระบบเข้าถึงผู้ใช้รายบุคคล และระบบบริการข้ามเครือข่ายไอพีสตาร์ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดด้วยการสมัครรับบริการอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการเพียงรายเดียว
  • IP Video on Demand, IP2TV โดยการที่ผู้ให้บริการสามารถส่งข้อมูลไปรอที่เซิร์ฟเวอร์ของเครือข่ายภายใน ผู้ใช้งานสามารถเรียกชมวิดีทัศน์ได้ในเวลาที่ต้องการผ่านระบบการเข้าถึงรายบุคคล
  • บริการเสียงและโทรสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (VoIP/FoIP), เครือข่ายเสมือนเฉพาะภายในองค์กร(Virtual Private Network) และการประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียม(Video Conferencing)
  • การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียม

การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียม (Video Conferencing)

 IP Star สำหรับการใช้งานด้านการประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียม(IP Star for Video Conferencing)

  •  การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียม (Video Conference : VDC) จัดเป็นการประยุกต์ใช้งานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการให้บริการบรอดแบนด์
  • บริการบรอดแบนด์ของไอพีสตาร์ทำให้การใช้งาน Video Conference เป็นไปอย่างง่ายดายในทุกที่ที่เครือข่ายดาวเทียมครอบคลุมถึงด้วย IP Network ของไอพีสตาร์
  • ไอพีสตาร์รองรับการใช้งาน Video Conference ในแบบแม่ข่าย/ ลูกข่าย(Client/Server) ที่กำลังแพร่หลายได้
  • เปรียบเทียบกับ Video Conference ในรูปแบบเดิมซึ่งจะต้องมีลักษณะเป็นการจัดแบบห้องประชุม(Room-based Video Conference) ผ่านระบบ ISDN แล้วจะพบว่า การทำ Video Conference ด้วยไอพีสตาร์จะสะดวกรวดเร็วกว่ามาก ทั้งในด้านการเตรียมอุปกรณ์ส่งภาพและเสียง และการจัดวงจรเชื่อมโยงระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม โดยเพียงแต่ติดตั้งอุปกรณ์ปลายทางของไอพีสตาร์ในจุดที่ต้องการใช้งาน ส่งผลให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการได้ในราคาที่ถูกกว่าแบบเดิมมาก
  • ไอพีสตาร์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ใช้งาน ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานจากที่บ้านโดยไม่ต้องเข้าสำนักงาน (Work at home) สามารถจัดประชุมระหว่างสำนักงานที่อยู่ในที่ห่างไกลในจังหวัดต่างๆ หรือการประชุมทางธุรกิจกับผู้จำหน่ายสินค้าและบริการ(Supplier) พันธมิตรทางธุรกิจหรือลูกค้าเป็นไปอย่างง่ายดาย โดยช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมและเดินทาง นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถอบรมพนักงานในเบื้องต้นได้ ทั้งหมดนี้โดยอาศัยห้องประชุมหรือห้องอบรมเสมือน(Virtual Meeting/Training Room) ที่สร้างขึ้นโดยใช้ไอพีสตาร์

การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียมในลักษณะแม่ข่าย/ลูกข่าย (Client/Server) ที่ใช้เทคโนโลยีของไอพีสตาร์

  • ไอพีสตาร์รองรับการใช้งาน Video Conference ตามมาตรฐาน H.323 ได้
  • ประสิทธิภาพการใช้แบนด์วิดท์ :
    • ระบบ Video Conference สามารถควบคุมและจัดสรรแบนด์วิดท์ได้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยการจัดแบนด์วิดท์เฉพาะแก่เทอร์มินัล ที่มีผู้เข้าร่วมประชุมที่กำลังมีบทบาทเท่านั้น
    • ระบบจะสามารถปรับอัตราเร็วในการส่งข้อมูลถึงแต่ละเทอร์มินัลให้ตรงกับความสามารถในการรับข้อมูลของแต่ละเทอร์มินัลภายในเครือข่ายการประชุมได้
  • คุณภาพของการบริการ Video Conference จะเป็นมาตรฐานเดียวกันไม่ว่าเทอร์มินัลจะอยู่ที่ใด
    • ระบบจะมีคุณสมบัติในการจัดศูนย์กลางสำหรับควบคุมการประชุมได้ (Centralized Management) เช่น การเพิ่ม/ ลดผู้เข้าประชุม การแบ่งห้องประชุมออกเป็นหลายห้อง การใช้ไฟล์และกระดานประชุมร่วมกัน
    • ในอนาคตจะมีระบบออกอากาศการส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหลายรายพร้อมกันโดยใช้ข้อมูลเดียวกัน (Multicast Feature) ซึ่งจะสามารถรองรับการใช้ Video Conference สำหรับการแพร่ข้อมูลในเครือข่ายที่มีเทอร์มินัลจำนวนมากพร้อมกันได้ และสามารถนำมาใช้ในการจัดอบรมภายในองค์กร และการออกอากาศรายการโทรทัศน์ภายในองค์กรได้
    • ระบบไอพีสตาร์รองรับการให้บริการด้านเสียงซึ่งถือเป็นบริการสื่อสารโทรคมนาคมที่ยังคงแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน โดยอุปกรณ์ปลายทางมีรุ่นที่ออกแบบสำหรับการใช้งานด้านเสียงโดยเฉพาะ (iPSTAR Voice Box)
  • บริการด้านเสียง
    • ระบบไอพีสตาร์รองรับการให้บริการด้านเสียงซึ่งถือเป็นบริการสื่อสารโทรคมนาคมที่ยังคงแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน โดยอุปกรณ์ปลายทางมีรุ่นที่ออกแบบสำหรับการใช้งานด้านเสียงโดยเฉพาะ (iPSTAR Voice Box)

คุณสมบัติของไอพีสตาร์สำหรับบริการด้านเสียง

  • Voice Box ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานสื่อสารทางเสียง/ แฟกซ์ได้โดยตรง โดยรวมเอาฟังก์ชั่นของบริการเสียงผ่านระบบอินเทอร์เน็ต(Voice over IP) และ Satellite modem เข้าไว้ในกล่องเดียวกัน รองรับการใช้งานได้หลายคู่สายต่อหนึ่งอุปกรณ์ปลายทาง
  • สามารถต่อใช้งานได้กับอุปกรณ์ Voice over IP มาตรฐาน ทั้ง IP Phone และ VoIP Gateway
  • สนับสนุนการทำงานของ Voice Mail หรือ Fax Mail Server
  • สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ เหมาะสำหรับการให้บริการโทรศัพท์ชนบทผ่านดาวเทียม (Rural Telephone) รวมถึงระบบโทรศัพท์ภายในเครือข่ายขององค์กร

ไอพีสตาร์สำหรับการใช้งานด้านโทรศัพท์ชนบทผ่านดาวเทียม

  • อุปกรณ์ Voice Box ของไอพีสตาร์จะได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานในชนบทได้ สามารถต่อใช้งานที่ –48 Volts DC ผ่านแบตเตอรี่ หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อการใช้งานในเขตที่ยังไม่มีระบบจ่ายกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้โครงสร้างอุปกรณ์ยังถูกออกแบบให้มีความแข็งแรง ทนทาน พร้อมระบบป้องกันฝุ่น และความร้อน
  • เมื่อเปรียบเทียบกับการให้บริการ Rural Telephone ที่ใช้ระบบ SCPC DAMA (Single Channel Per Carrier/Demand Assigned Multiple Access) แล้ว ไอพีสตาร์จะมีราคาอุปกรณ์ปลายทางที่ถูกกว่า สามารถใช้แบนด์วิดท์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า และรองรับการประยุกต์ใช้งานอื่นๆ บน IP นอกเหนือจากการใช้งานด้านเสียง

ไอพีสตาร์สำหรับเครือข่ายโทรศัพท์ภายในองค์กร

Voice Box ของไอพีสตาร์สามารถรองรับการใช้งานด้านเสียงหรือแฟกซ์ สำหรับเครือข่ายภายในองค์กรซึ่งมีสำนักงานสาขาอยู่ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างสำนักงานใหญ่หรือสาขาต่างๆ ผ่านดาวเทียมทั้งในแบบ Single Hop หรือ Double Hop โดยยังคงผ่านสัญญาณเสียงหรือแฟกซ์ได้อย่างมีคุณภาพ

  • รองรับการทำงานแบบ LAN-based VoIP
  • อุปกรณ์ปลายทางของไอพีสตาร์รองรับการใช้งานด้านเสียงได้หลายคู่สายต่อเทอร์มินัล

ไอพีสตาร์สำหรับเครือข่ายเสมือนเฉพาะภายในองค์กร

  • การทำเครือข่ายส่วนตัวบนไอพีสตาร์ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้งขององค์กรหรือสาขาว่าจะต้องมีข่ายสายไปถึง ทำให้มีความสะดวกในการขยายเครือข่ายจาก LAN ในพื้นที่เล็กๆ เป็น WAN ในพื้นที่ทั่วประเทศ
  • ที่สำนักงานใหญ่ขององค์กรควรมีวงจรเช่าต่อเข้าหาเกตเวย์ของไอพีสตาร์ผ่าน VPN-enabled router เพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างสำนักงานสาขาที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลกับสำนักงานใหญ่ด้วยการเชื่อมต่อสัญญาณผ่านดาวเทียม(Satellite link) ในลักษณะการขึ้นลงเพียงครั้งเดียว
  • แบนด์วิดท์ของไอพีสตาร์สามารถใช้ร่วมกัน และปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้ใช้งานได้ ดังนั้นองค์กรจึงสามารถเช่าแบนด์วิดท์ของไอพีสตาร์เท่าปริมาณทราฟฟิกที่ต้องการใช้งานจริง เช่น แบนด์วิดท์ 1 Mbps สำหรับใช้งาน 20 หรือ 200 เทอร์มินัล ตามอัตราเร็วและคุณภาพที่องค์กรต้องการ
  • ไอพีสตาร์สามารถรองรับการใช้งานแบนด์วิดท์แบบสูงขึ้นเป็นบางช่วง (Burstable) และการใช้แบนด์วิดท์ตามความต้องการของแต่ละบุคคล(On-demand) ได้
  • เครือข่าย VPN สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับ IP Network ของไอพีสตาร์ได้ เช่น จุดจำหน่ายสินค้าหรือ POS (Point of Sales) สำหรับการจ่ายเงินผ่านธนาคาร/ บัตรเครดิต, การดึงข้อมูล หรือการแก้ไขฐานข้อมูลของบริษัทให้ทันสมัย

การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตภายในองค์กรด้วยเทคโนโลยีของไอพีสตาร์

  • ธนาคารสำนักงานใหญ่และสาขาทั่วประเทศ : ระบบอินทราเน็ต, เอ็กซ์ทราเน็ต และงานด้านการจัดการต่างๆ
  • กลุ่มยานยนต์และตัวแทนจำหน่าย : ระบบสินค้าคงคลัง, ระบบการส่งมอบรถยนต์, การแก้ไขฐานข้อมูลให้ทันสมัย, การอบรมตัวแทนจำหน่าย
  • อุตสาหกรรมปิโตรเลียม : จุดจำหน่ายสินค้า ณ ปั๊มน้ำมัน
  • การค้าปลีก : จุดจำหน่ายสินค้าในร้านค้า
  • รัฐบาลอิเล็คทรอนิกส์ หรือ E-government : ระบบอินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ตของหน่วยงานรัฐบาล

ตัวอย่างบริการของ iPSTAR

บริการ รูปแบบการรับส่ง
ความบันเทิง
  • โทรทัศน์บอกรับสมาชิก
  • โทรทัศน์ทั่วไป
  • ภาพยนตร์แบบ Pay per View
  • ภาพยนตร์แบบ Video On Demand
  • Interactive TV
  • Interactive Games
กระจายส่งสัญญาณแบบสื่อสารทางเดียว
การสื่อสารข้อมูล
  • อินเทอร์เน็ต
  • การศึกษาทางไกล
  • Multimedia
  • Image Networking
  • Transaction Services
  • รับส่งข้อมูลอัตราเร็วสูง
สื่อสารสองทาง ข้อมูลภาครับมากกว่าภาคส่ง
การติดต่อสื่อสาร
  • การประชุมทางไกล
  • การแพทย์ทางไกล
  • โทรศัพท์
  • ระบบสื่อสารภายในองค์กร
  • ISDN & High Speed Digital Line
สื่อสารสองทาง ข้อมูลภาครับและส่งใกล้เคียงกัน

กลยุทธ์และการนำเสนอโครงการดาวเทียม iPSTAR

รูปแบบการนำเสนอโครงการดาวเทียม iPSTAR มีความแตกต่างจากโครงการดาวเทียมทั่วไปดังนี้

  • iPSTAR เป็นโครงการดาวเทียมระบบบรอดแบนด์ในภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับความสนใจจากพันธมิตรธุรกิจจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย ซึ่งร่วมมือกันทำให้โครงการ iPSTAR มีศักยภาพในเชิงแข่งขัน เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการดาวเทียมแถบความถี่กว้างของประเทศในแถบยุโรปหรืออเมริกา พันธมิตรธุรกิจ iPSTAR ซึ่งมีนโยบายจะร่วมมือกันนั้น ล้วนอยู่ในธุรกิจดาวเทียมทั้งสิ้น เช่น ผู้ดำเนินการให้บริการเช่าสัญญาณดาวเทียม, ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม, ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต, ผู้ให้บริการทีวีบอกรับสมาชิก, ผู้ผลิตอุปกรณ์ เป็นต้น
  • iPSTAR จัดระบบโครงสร้างทางธุรกิจให้มีหลายระดับ เพื่อเปิดโอกาสให้พันธมิตรทางธุรกิจที่สนใจ เข้าร่วมโครงการได้ในหลายรูปแบบ เช่น ผู้ดำเนินโครงการแห่งชาติ(National Service Operator : NSO) และผู้ให้บริการ(Service Provider) ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจว่า การดำเนินการสามารถเข้าถึงตลาด การขยายตัว การให้บริการของโครงการ iPSTAR เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด ( มหาชน) กำลังดำเนินการหาพันธมิตรทางธุรกิจจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยมีหลากหลายรูปแบบการร่วมโครงการที่นำเสนอ เช่น เสนอให้ร่วมเป็นผู้ดำเนินการแห่งชาติ NSO หรือเป็นผู้ให้บริการ SP เป็นต้น ปัจจุบันพันธมิตรที่ได้แสดงความสนใจร่วมในโครงการ iPSTAR ส่วนใหญ่ ล้วนเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ๆ ในประเทศ เช่น จีน, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, ออสเตรเลีย, ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
  • บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด ( มหาชน) ได้คิดค้นพัฒนาในส่วนของอุปกรณ์รับสัญญาณภาคพื้นดินของ iPSTAR เป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถให้บริการได้ก่อนกำหนดเวลาที่จะมีดาวเทียม iPSTAR โดยจะนำมาใช้ร่วมกับดาวเทียมทั่วไปในปัจจุบันก่อน แต่จะให้ประสิทธิภาพการรับ- ส่งข้อมูลสูงขึ้นกว่า 2 เท่า ทั้งนี้การใช้งานดังกล่าวจะเป็นเพียงชั่วคราวก่อนที่ระบบ iPSTAR แบบเต็มรูปแบบจะสามารถให้บริการได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบแก่ iPSTAR ในการที่ได้เข้ามาจับตลาดก่อนโครงการอื่น
  • ปัจจุบัน iPSTAR ได้ถูกพัฒนารุดหน้าไปอย่างมาก โดยอุปกรณ์ส่วนภาคพื้นดินจะสามารถเริ่มให้บริการร่วมกับระบบดาวเทียมปัจจุบันได้ในประมาณปลายปี 2544 ในส่วนบริการ iPSTAR เต็มรูปแบบจะเริ่มให้บริการได้ในต้นปี 2547 กำหนดเวลาดังกล่าวเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของ iPSTAR เพื่อชิงความได้เปรียบในการเข้าตลาดก่อนโครงการอื่น
  • iPSTAR เป็นโครงการที่มั่นคงเนื่องจากเทคโนโลยีต่างๆ ที่ iPSTAR ใช้งานนั้น ล้วนมีความเป็นไปได้ทั้งทางเทคนิคและการลงทุน ทำให้มั่นใจได้ว่าโครงการ iPSTAR จะเปิดบริการได้ตามกำหนด ซึ่งอาจจะเป็นโครงการดาวเทียมแถบความถี่กว้างโครงการแรกของโลก
  • iPSTAR จะเจาะกลุ่มลูกค้าไปยังตลาดผู้บริโภครายย่อย โดยเฉพาะบริการอินเทอร์เน็ตอัตราเร็วสูงในส่วนไมล์สุดท้าย ซึ่งเทคโนโลยีอื่นๆ ยังมีอุปสรรคในการเข้าถึงอยู่ โดยตรงข้ามกับดาวเทียมในปัจจุบันที่เจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือสถานีโทรทัศน์

 ลำดับเหตุการณ์สำคัญของโครงการดาวเทียม iPSTAR

14 มิถุนายน 2543 ชินแซทเทลไลท์เลือก Nera ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีหลักของเกตเวย์สำหรับ iPSTAR
20 มิถุนายน 2543 “ ไอพีสตาร์” โชว์กึ๋นชินแซทฯ มิติใหม่ดาวเทียมแห่งอนาคต
2 สิงหาคม 2543 “ ชินแซทเทลไลท์” ประกาศเลือก “ ลอรัล” เป็นผู้สร้างดาวเทียม iPSTAR
15 มกราคม 2544 iPSTAR ได้รับอนุญาตใช้ความถี่เพื่อให้บริการดาวเทียม iPSTAR ในออสเตรเลีย
27 กุมภาพันธ์ 2544 iPSTAR คืบหน้าได้พันธมิตร NSO รายแรกจากมาเลเซีย
เมษายน 2544 ชินแซทเทลไลท์จัดสาธิตระบบรับส่งสัญญาณภาคพื้นดินของ iPSTAR สำเร็จ
20 กรกฎาคม 2544 ชินแซทเทลไลท์รุกตลาดบรอดแบนด์ในจีน ได้ China Railway (Asia-Pacific) เป็นพันธมิตรรายใหญ่ ร่วมให้บริการอินเทอร์เน็ตอัตราเร็วสูงในจีน ครอง 20% ของช่องสัญญาณดาวเทียม iPSTAR
29 พฤศจิกายน 2544 ซีเอส อินเทอร์เน็ต ร่วมมือ ชินแซทเทลไลท์ เปิดบริการ iPSTAR อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม จัดงานแนะนำ 4 บริการใหม่แก่ลูกค้า หวังกวาดตลาด ทั้งองค์กรใหญ่ กลาง และเล็ก
5 มีนาคม 2545 US Ex-Im Bank วางในชินแซทเทลไลท์ อนุมัติเงินกู้ 250 ล้านเหรียญ US$ แก่ดาวเทียม iPSTAR
18 เมษายน 2545 ชินแซทเทลไลท์ประกาศเลือก “ แอเรียนสเปซ” เป็นผู้ส่งดาวเทียมไอพีสตาร์
9 พฤษภาคม 2545 iPSTAR รุกตลาดบรอดแบนด์ในจีน จับมือ Shanghai VSAT เปิดการขายไตรมาส 3 ปี 2545 นี้
14 พฤษภาคม 2545 ชินแซทเทลไลท์จับมือ VSNL บริษัทสื่อสารใหญ่ที่สุดของอินเดีย ร่วมให้บริการบรอดแบนด์ในอินเดีย เร่งเปิดบริการในไตรมาส 4 ปี 2545 นี้
15 พฤษภาคม 2545 IPSTAR รุกตลาดเมียนมาร์ BAGAN Cybertech เลือกใช้ไอพีสตาร์เร่งขยายบริการโทรศัพท์ทางไกลชนบท
4 กรกฎาคม 2545 iPSTAR จับมือสามารถเทลคอม ร่วมให้บริการบรอดแบนด์ในประเทศไทย
8 สิงหาคม 2545 ชินแซทเทลไลท์และ Shanghai VSAT เปิดให้บริการ iPSTAR ในประเทศจีนปลายสิงหาคม 2545

 ประโยชน์ของการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม

ด้านการศึกษา

–  ยกระดับมาตรฐานการศึกษาของนักเรียนและสถานบันการศึกษาทั่วประเทศ

–  กระจายความเจริญและทรัพยากรทางด้านการศึกษาไปทุกพื้นที่ หรือจังหวัดที่ห่างไกล

– เปิดโลกยุคโลกาภิวัฒน์ทางด้านการศึกษาของเยาวชนไทยให้กว้างขึ้น
แหล่งข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะมาจากแหล่งข้อมูลจริงและทันต่อเหตุการณ์

–  สร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ที่ทุกพื้นที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ทำให้เกิดห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) ซึ่งสามารถค้นคว้าข้อมูลได้ตลอดเวลาตามความต้องการ

ด้านธุรกิจ

–  สร้างภาพพจน์ของความเป็นผู้นำให้แก่กลุ่มธุรกิจ หรือบริษัทฯ ในเครือ

–  ได้รับความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร การรับ-ส่ง E-mail

–   ข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความหลากหลายและกว้างขวาง ทำให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

–   เพิ่มการให้บริการที่ดีรวดเร็ว แก่ลูกค้าขององค์กรในปัจจุบัน

–   เพิ่มช่องทางการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ของผู้ใช้บริการแก่สาธารณชน

–   เพื่อช่องทางการตลาดของสินค้าที่กว้างมากขึ้น

–   สามารถประกอบธุรกิจแบบเรียลไทม์ เช่น การตัดหักชำระค่าบริการผ่านอินเตอร์เน็ตจากบัตรเครดิทต่างๆ

–   เป็นช่องทางในการนำเสนอเพื่อกระจายข้อมูลไปทั่วโลก

–   ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารต่ำ เมื่อเทียบกับการใช้ โทรสาร หรือ โทรศัพท์

รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ STAR-LINK (Corporate )

ชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย

        1. IPSTAR Professional Series

อุปกรณ์ที่จำเป็น

  1. เครื่องคอมพิวเตอร์

–    CPU ระดับ Pentium MMX 200 MHz ขึ้นไป

–    หน่วยความจำระดับ 64 MB ขึ้นไป

–   พื้นที่เก็บข้อมูล 20 MB สำหรับการติดตั้งโปรแกรม

–   เครื่องเล่นแผ่น CD ( CD-ROM Drive )

–   ช่องต่ออุปกรณ์แบบ USB Port

–    อุปกรณ์เครือข่าย ( LAN Card )

  1. อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมเครือข่ายภายใน (LAN) ในกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อมากกว่า 1 เครื่อง

การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่าย IPSTAR

                            ระบบเครือข่าย IPSTAR FG สามารถนำไปใช้ในการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง ได้หลายรูปแบบ ได้แก่
       1.การรับ-ส่งข้อมูลสองทางแบบ Symmetric :  ที่ต้องการความเร็วของขารับและขาส่งใกล้เคียงกัน       เช่น การประชุมทางไกล

       2.การรับ-ส่งข้อมูลสองทางแบบ Aysmmetric : ที่ต้องการความเร็วของขารับมากกว่าขาส่ง เช่น Multimedia Internet Access

       3.การรับข้อมูลทางเดียวแบบ Broadcast หรือ Multicast : เช่น การศึกษาทางไกล เครือข่าย IPSTAR ได้รับการออกแบบมา ให้สามารถรองรับการสื่อสารได้ทั้ง Voice, Data, และ Video บน Internet Protocol (IP) Platform ได้ที่ความเร็วสูงสุด 8 Mbps สำหรับขารับ และ 2.5 Mbps สำหรับขาส่ง

 * *References **

1. http://www.csloxhispeed.com

2. www1.mod.go.th/opsd/dstcweb/ict/satellite.doc

3.images.suradechr.multiply.multiplycontent.com/attachment/0/R2jYLgoKCn8AADHYdWM1/ลักษณะการทำงานของ%2520IPSTAR.doc

4.http://www.contactcenter.cattelecom.com/thai/datacom/CAT_iPSTAR_info.asp

Hello world!

Posted: 13/08/2010 in Uncategorized

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!